Engineering1986 > สาระความรู้ > การดูแลรักษาแบตเตอรี่และการเลือก Battery Charger

การเลือกเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ หรือ Battery Charger สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) และเครื่องยนต์สูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นใจในประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ ก่อนจะเปลี่ยนระบบพลังงานมาเดินเครื่องด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง ฉะนั้นการดูแลรักษาแบตเตอรี่ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ จึงเป็นหัวใจหลักของระบบเครื่องยนต์สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซล ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารขนาดใหญ่

แบตเตอรี่เครื่องยนต์ดีเซล สำหรับ Generator และ Fire Pump มีอะไรบ้าง เลือกใช้อย่างไร

แบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์สูบน้ำดับเพลิง และเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ ทาง Engineering 1986 แนะนำเป็น แบตเตอรี่ตะกั่วกรด (Lead-Acid Battery) และ โดย มี แบบน้ำกรด (Flooded Lead-Acid Battery) และ แบบเจล (Gel Battery) สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  1. แบบน้ำกรด (Flooded Lead-Acid Battery)
    แบตเตอรี่แบบนี้ต้องการการบำรุงรักษา เช่น การเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ แต่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และทนทานต่อการใช้งานหนัก

แบตเตอรี่น้ำกรด (Flooded Lead-Acid Battery)

ข้อดี

  • ราคาไม่แพง เป็นประเภทที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น
  • รองรับการใช้งานหนัก เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการพลังงานสูง เช่น การสตาร์ทเครื่องยนต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์สูบน้ำดับเพลิงดีเซล
  • หาซื้อได้ง่าย เนื่องจากได้รับความนิยมในประเทศไทยหากเกิดปัญหา สามารถหาซื้อลูกใหม่มาเปลี่ยนได้ทันที

ข้อเสีย

  • ต้องการการบำรุงรักษาสม่ำเสมอ ต้องคอยเติมน้ำกลั่นและทำความสะอาดคราบกรดที่อาจเกิดขึ้นบริเวณขั้วแบตเตอรี่ โดยต้องหมั่นตรวจเช็คระดับน้ำกลั่น แนะนำให้มีการเติมน้ำกลั่นทุกสัปดาห์

 

  1. แบบเจล (Gel Battery)
    มีความเสถียรสูง และไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ทนต่อการสั่นสะเทือน ใช้งานได้ดีในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูง และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับระบบโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องการความเสถียรและมั่นใจของระบบสูง เพราะบำรุงรักษาน้อย จึงลดความผิดพลาดของระบบเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้

แบตเตอรี่เจล (Gel Battery)

ข้อดี

  • ทนต่อการสั่นสะเทือน มีความทนทานและเหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการสั่นสะเทือน
  • ใช้งานได้ในทุกมุม สามารถติดตั้งในตำแหน่งใดก็ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วไหลของกรด
  • อายุการใช้งานยาวนาน โดยไม่ต้องบำรุงรักษาหรือคอยเติมน้ำกลั่น

ข้อเสีย

  • ราคาแพง: มีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำกรดและแบบกึ่งแห้ง

การใช้งานที่เหมาะสม

เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการสั่นสะเทือน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในงานก่อสร้าง หรือระบบสำรองไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สำคัญ

เกณฑ์การเลือกแบตเตอรี่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกแบตเตอรี่

  1. ความจุ (Capacity)
    ความจุของแบตเตอรี่มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ชั่วโมง (Ah) ซึ่งบ่งบอกถึงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่แบตเตอรี่สามารถจ่ายได้ ควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีความจุเหมาะสมกับความต้องการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยคำนึงถึงการจ่ายพลังงานทั้งในระยะสั้น (สำหรับการสตาร์ท) และในระยะยาว (สำหรับการสนับสนุนระบบไฟฟ้าภายใน)
  2. แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
    แบตเตอรี่ส่วนใหญ่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลจะมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 12V หรือ 24V การเลือกแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมต้องสอดคล้องกับสเปคของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งาน
  3. กระแสสำหรับการสตาร์ท (Cold Cranking Amps – CCA)
    ค่า CCA เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงความสามารถของแบตเตอรี่ในการจ่ายกระแสไฟสูงในระยะเวลาอันสั้นเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเฉพาะในสภาวะอากาศเย็น
  4. อายุการใช้งาน (Lifespan)
    อายุการใช้งานของแบตเตอรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายระยะยาว ควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพสูงและทนทานต่อการใช้งานหนัก
  5. ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
    เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามักติดตั้งในพื้นที่ที่อาจมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก หรืออาจมีการสั่นสะเทือนจากการทำงานของเครื่องยนต์ ดังนั้นควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีความทนทานต่อสภาวะเหล่านี้

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่

ดูแลรักษาแบตเตอรี่อย่างเหมาะสมสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานและลดความเสี่ยงจากการขัดข้องได้ โดยมีวิธีดังนี้

  1. การตรวจสอบระดับน้ำกลั่น (สำหรับแบตเตอรี่ชนิดน้ำ)
    ควรตรวจสอบและเติมน้ำกลั่นเมื่อระดับลดลง เพื่อป้องกันแผ่นธาตุในแบตเตอรี่เสียหาย ควรหมั่นสังเกตุสภาพแบตเตอรี่และเติมระดับน้ำกลั่นทุกสัปดาห์
  2. การตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า
    ใช้เครื่องวัดเพื่อเช็คแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่เป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าแรงดันอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
  3. การทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่
    ควรทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่เพื่อลดการเกิดสนิมและป้องกันการสูญเสียพลังงาน
  4. การชาร์จแบตเตอรี่ หรือการใช้งาน Battery Charger
    เมื่อเครื่องยนต์ไม่ได้ใช้ แบตเตอรี่จะมีการคายประจุทำให้ประสิทธิภาพลดลง ควรตรวจสอบระบบชาร์จไฟว่าทำงานปกติหรือไม่ และทดสอบสตาร์ทเครื่องอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้แบตเตอรี่หมดไฟจนแรงดันลดต่ำเกินไป Battery Charger ที่ดี จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้

การเลือกแบตเตอรี่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ต้องพิจารณาหลายปัจจัย ทั้งในแง่ของความจุ แรงดันไฟฟ้า ความสามารถในการสตาร์ท อายุการใช้งาน และความทนทาน การเลือกแบตเตอรี่ที่เหมาะสมไม่เพียงช่วยให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานได้อย่างราบรื่น แต่ยังช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในระยะยาวอีกด้วย

 

หลักการชาร์จแบตเตอรี่ สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การชาร์จแบตเตอรี่ให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยยืดอายุการใช้งานและรักษาประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ทาง Engineering 1986 จะเลือกใช้เครื่องเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ปล่อย Output Voltage เหมาะสมกับสเปกของลูกค้า เราเลือกใช้ Battery Charger ที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุการใช้งาน และเพิ่มความปลอดภัยให้ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา โดยหลักการของเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ดีมีดังนี้

การติดตั้งเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ หรือ Battery Charger จะติดตั้งเข้ากับแบตเตอรี่และติดตั้งอยู่ในตู้ควบคุม และนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน เพื่อนำกลับมาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ กระบวนการนี้ทำให้แบตเตอรี่ได้รับการชาร์จอยู่เสมอ จึงเป็นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้รักษาประสิทธิภาพได้ตลอดอายุการใช้งานหรือ 2 ปี ทั้งนี้จะต้อง เป็นการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่แบตเตอรี่คายประจุลึกหรือการคายประจุจนหมด (Deep Discharge) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสียหาย ผู้ติดตั้งและเลือกใช้ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตรวจสอบความเข้ากันได้ระหว่าง Battery Charger กับแบตเตอรี่ โดยทีมงาน Engineering 1986 มี Battery Charger ประสิทธิภาพสูงที่คัดเลือกให้เหมาะกับสเป็คแบตเตอรี่ของลูกค้าและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้อย่างดี

  • มีรูปแบบการชาร์จแบตเตอรี่ที่เหมาะสม

มีระบบการชาร์จแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Charging) เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการใช้งานเพื่อยืดอายุและคงประสิทธิภาพแบตเตอรี่ประกอบด้วย:

  • Bulk Charge หรือ Quick Charge : ชาร์จด้วยกระแสสูงจนถึงระดับแรงดันที่กำหนด
  • Absorption Charge: รักษาแรงดันคงที่เพื่อลดกระแสเมื่อใกล้เต็ม
  • Float Charge: คงแรงดันต่ำเพื่อรักษาระดับแบตเตอรี่

หากไม่มีระบบ Multi-Stage Charging  หรือเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ยังเป็นรุ่นเก่า ต้องคอยระวังและหลีกเลี่ยงการชาร์จเกิน (Overcharging) หรือการชาร์จทิ้งไว้ซึ่งทำให้แบตเตอรี่ร้อนเกินไปและเสื่อมเร็ว

กราฟแสดงรูปแบบการทำงานของระบบการชาร์จแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Charging)

วิธีชาร์จแบตเตอรี่ 12V ที่ใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การชาร์จแบตเตอรี่ 12V อย่างถูกต้องช่วยยืดอายุการใช้งานและป้องกันความเสียหายจากการชาร์จผิดวิธี โดยมีขั้นตอนดังนี้:

ขั้นตอนการชาร์จแบตเตอรี่ 12V

  1. ตรวจสอบแบตเตอรี่
    • เช็คแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ก่อนชาร์จ โดยใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
    • หากแรงดันต่ำกว่า 5V อาจต้องใช้เครื่องชาร์จที่รองรับแบตเตอรี่ที่คายประจุลึก (Deep Discharge)
  2. เชื่อมต่อ Battery Charger
    • ต่อขั้วบวก (สีแดง) ของเครื่องชาร์จกับขั้วบวกของแบตเตอรี่
    • ต่อขั้วลบ (สีดำ) ของเครื่องชาร์จกับขั้วลบของแบตเตอรี่
    • หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อผิดขั้ว เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เสียหาย
  3. เลือกโหมดการชาร์จ
    • ใช้โหมดที่เหมาะสม เช่น Bulk, Absorption หรือ Float ตามความต้องการ
  4. เริ่มชาร์จ
    • เปิดเครื่องชาร์จและปล่อยให้ทำงานจนกว่าจะเต็ม (สถานะเต็มมักแสดงบนเครื่องชาร์จ)
  5. ตรวจสอบหลังชาร์จ
    • ใช้มิเตอร์วัดแรงดันแบตเตอรี่ ควรอยู่ที่ 6–12.8V หลังชาร์จเต็ม

ข้อควรระวัง

  • ตรวจสอบระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ (สำหรับแบตเตอรี่แบบน้ำกรด) หากระดับต่ำ ให้เติมน้ำกลั่นก่อนชาร์จ
  • ห้ามชาร์จแบตเตอรี่ในพื้นที่ปิด เพราะจะมีการปล่อยก๊าซไฮโดรเจนที่ติดไฟได้

 

การเลือกใช้ Battery Charger เพื่อยืดอายุการใช้งานและคงประสิทธิภาพให้แบตเตอรี่ได้ดี

Battery Charger ที่เหมาะสมจะช่วยให้แบตเตอรี่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน โดยมีเกณฑ์การเลือกให้เหมาะสมตามประเภทของแบตเตอรี่ เช่น

  1. กระแสไฟ (Charging Current)
    • ค่ากระแสไฟที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 10–20% ของค่าความจุแบตเตอรี่ (Ah) เช่น แบตเตอรี่ 100Ah ควรใช้ Charger ที่มีกระแสไฟ 10–20A
  2. แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
    • โดยส่วนใหญ่ ที่นิยมใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ในโรงงานและอาคารขนาดใหญ่จะเป็นแบตเตอรี่ 12V และต่อวงจรสำหรับจ่ายไฟฟ้า 24V เพราะหาซื้อได้ง่ายและมีราคาที่ย่อมเยาว์ในประเทศไทย
  3. โหมดการชาร์จ
    • Charger แบบ Multi-Stage เหมาะกับแบตเตอรี่ทุกประเภท เพราะช่วยป้องกันการชาร์จเกินและดูแลแบตเตอรี่ในระยะยาว
  4. ระบบป้องกันความปลอดภัย
    • เลือก Charger ที่มีฟังก์ชันป้องกันการลัดวงจร (Short Circuit Protection) และการต่อผิดขั้ว (Reverse Polarity Protection)
  5. ประเภทของแบตเตอรี่
    • Charger บางรุ่นรองรับเฉพาะแบตเตอรี่ตะกั่วกรด หรือแบตเตอรี่ลิเธียม ควรตรวจสอบให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่ที่ใช้งาน

การเลือกแบตเตอรี่และ Battery Charger สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า และสภาพแวดล้อมการใช้งาน ควรเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้าจะทำงานได้อย่างราบรื่น ปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

เลือก Battery Charger จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและมีมาตรฐาน เช่น Smartgen ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานและมีการรับประกันสินค้า และตรวจสอบรีวิวและข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อ หรือให้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญอย่าง Engineering 1986 ให้คำแนะนำตรวจสอบและติดตั้ง

คุณสมบัติทางเทคนิค

  • แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่: รองรับแบตเตอรี่ 12 โวลต์
  • กระแสไฟสูงสุด: 6 แอมป์
  • แรงดันไฟฟ้าขาเข้า: 100-240 โวลต์ (AC) และรองรับช่วงแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่ 90-280 โวลต์
  • โหมดการชาร์จ Multi-Stage : รองรับการชาร์จแบบ 2 หรือ 3 ระดับ (Two-stage หรือ Three-stage) ซึ่งช่วยป้องกันการชาร์จเกินและยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่
  • การป้องกันในตัว:
    • ป้องกันการเชื่อมต่อผิดขั้ว
    • ป้องกันกระแสเกิน
    • ป้องกันการลัดวงจร
  • การชดเชยอุณหภูมิ: มีเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิแบตเตอรี่และปรับแรงดันชาร์จตามอุณหภูมิ
  • การแสดงผลด้วย LED:
    • ไฟเขียว: แสดงสถานะชาร์จเต็ม
    • ไฟแดง: แสดงสถานะกำลังชาร์จ

จุดเด่น

  1. ประสิทธิภาพสูง: ใช้ระบบวงจร Power Factor Correction (PFC) ที่ช่วยรักษาอัตราส่วนพลังงานได้สูงถึง 87%
  2. การติดตั้งง่าย: ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่จำกัด สามารถติดตั้งภายในตู้คอนโทรลเพื่อสะดวกต่อการดูและรักษา
  3. รองรับการสื่อสาร : ใช้สำหรับการควบคุมและการตรวจสอบจากระยะไกล สามารถทำงานร่วมกับ Generator Monitoring Gateway ที่ติดตั้งกับชุดควบคุมได้ เพื่อแสดงผลการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต

การใช้งานที่เหมาะสม

  • ชาร์จแบตเตอรี่สำหรับระบบเริ่มต้นเครื่องยนต์ (Starter Battery) ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือระบบเครื่องปั๊มน้ำดับเพลิง
  • ใช้งานในพื้นที่ที่ต้องการการชาร์จที่มีความเสถียรและสามารถป้องกันความเสียหายของแบตเตอรี่จากการชาร์จผิดพลาด

หากพบปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมก่อนครบอายุการใช้งานหรือ 2 ปี อาจมาจาก Battery Charger เสื่อมสภาพหรือการติดตั้งที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน ต้องการทีมงานช่วยตรวจสอบดูแลระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ติดตั้ง Battery Charger ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อและติดตั้งสินค้า มีความเชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมแก้ไขตรวจสอบระบบความผิดพลาดต่างๆ ของชุดควบคุม Generator ติดต่อ Engineering 1986 วิศวกรตรวจสอบงานไฟฟ้า ซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามืออาชีพ ที่ได้การรับรองจากสภาวิศวกร

🔸 บริการงานแก้ไข ซ่อมบำรุง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รับ Maintenance Generator ต่อครั้ง/รายปี จากทีมงานมืออาชีพ พร้อมแก้ไขทุกปัญหาของระบบ

🔹 พร้อมบริการ 24 ชั่วโมง ให้คำปรึกษา Hotline แก้ไข และนัดประชุมกับลูกค้า สรุปแนะนำแนวทางแก้ปัญหาและรายงานผลการดำเนินการ

🔹 มี QR CODE โปรแกรมแจ้งแผนงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากหน้าเครื่อง ไม่ต้องวุ่นวายหาเอกสาร

🔹 รับติดตั้ง Generator Gateway Monitoring เพื่อดูสถานะการทำงานของเครื่องได้แบบ Realtime ผ่าน รู้ปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน แสดงผลผ่าน Internet Device

👨🏻‍🔧 เตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของคุณให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เลือกใช้บริการ Engineering 1986

24 Hours Hotline ‼️

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ปรึกษางานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452