Engineering1986 > สาระความรู้ > ท่อยืนระบบดับเพลิงในอาคารเก่า ไม่มีการติดตั้ง PRV (Pressure Relief Valve) อาจหมายถึงชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชั้นสูง
ระบบท่อยืนเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบดับเพลิงในอาคารสูง โดยมีบทบาทหลักในการส่งน้ำที่ต่อมาจากปั๊มน้ำดับเพลิง Fire Pump ลำเลียงส่งน้ำไปยังทุกชั้นของอาคารเพื่อต่อสู้กับเหตุการณ์ไฟไหม้ การออกแบบและติดตั้งระบบต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย เช่น NFPA 14 และการบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเป็นข้อปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมหลายฉบับ เช่น
กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้มีข้อกำหนดห้อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องติดตั้งระบบท่อดับเพลิงแนวตั้ง (Standpipe System) พร้อมหัวจ่ายน้ำดับเพลิงและวาล์วที่ควบคุมแรงดันน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละชั้นของอาคาร เพื่อให้แรงดันไม่สูงเกินไปจนเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์หรือเป็นอันตรายต่อการใช้งานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
กำหนดจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย (TISI 1444) มาตรฐานการออกแบบและติดตั้ง วสท.3002-51 ระบุถึงข้อกำหนดสำหรับการเลือกอุปกรณ์ การติดตั้งวาล์วปรับแรงดันในระบบท่อยืน และการคำนวณความดันเพื่อรองรับการจ่ายน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ภายในอาคาร รวมถึงข้อกำหนดเรื่องขนาดและวัสดุของท่อที่ใช้ในระบบ ซึ่งต้องผ่านการออกแบบโดยวิศวกรที่ได้รับการรับรอง ให้ระบบดับเพลิงในอาคารสูงต้องมีการควบคุมแรงดันในท่อแนวตั้งให้เหมาะสมกับแต่ละจุดจ่ายน้ำดับเพลิง
ทั้งนี้ในอาคารที่เก่ามากหรือมีการก่อสร้างก่อนที่มาตรฐานและกฎหมายควบคุมประกาศใช้ อาจมีการละเลยข้อปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงของชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นหากการดับเพลิงล้มเหลว เพราะระบบดับเพลิงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
สำหรับเจ้าของอาคารหรือผู้รับผิดชอบ หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขระบบ การติดตั้ง หรือบำรุงรักษาระบบท่อยืน สามารถติดต่อทีมงานวิศวกรมืออาชีพของ Engineering 1986 ได้ทันที เรายินดีให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญและมาตรฐานระดับสากล พร้อมได้รับตามการรับรองจากสภาพวิศวกร
Engineering 1986 เราให้บริการตรวจสอบงานซ่อมบำรุงระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประจำปี PM Pire Pump / Performance test Fire pump / Hydrants test และในงานตรวจสอบระบบ หากทีมงานเจอการติดตั้งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เราพร้อมที่จะดูแลและแก้ไขระบบ รวมถึงให้คำแนะนำงานติดตั้งระบบดับเพลิงเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและเป็นไปตามมาตรฐานจากสภาวิศวกร
ระบบท่อยืนคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อระบบดับเพลิง
ระบบท่อยืน หรือ Standpipe System เป็นระบบท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งในแนวตั้งภายในอาคาร โดยออกแบบเพื่อให้สามารถส่งน้ำไปยังชั้นต่าง ๆ ของอาคารสูงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ น้ำที่ส่งผ่านระบบนี้สามารถนำไปใช้งานร่วมกับระบบดับเพลิง เช่น สปริงเกอร์ (Sprinkler) หรือหัวจ่ายน้ำดับเพลิง (Fire Hose Cabinet)
หน้าที่และความสำคัญของระบบท่อยืน
- ช่วยส่งน้ำไปยังชั้นต่าง ๆ ในอาคารสูง
ระบบท่อยืนทำหน้าที่เหมือนเส้นเลือดใหญ่ของระบบดับเพลิง โดยนำน้ำจากแหล่งน้ำ เช่น แทงก์น้ำสำรองหรือ Fire Pump ส่งไปยังจุดที่ต้องการอย่างรวดเร็ว - อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง
ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถต่ออุปกรณ์ดับเพลิงเข้ากับท่อได้ในทันที โดยไม่ต้องลากสายยาวจากชั้นล่างขึ้นไป ลดเวลาและเพิ่มความปลอดภัยในการจัดการไฟไหม้ - สนับสนุนระบบสปริงเกอร์
ระบบท่อยืนทำงานร่วมกับระบบสปริงเกอร์ โดยทำหน้าที่ส่งน้ำแรงดันสูงไปยังหัวสปริงเกอร์ในทุกชั้นของอาคาร - รองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้รวดเร็ว
เมื่อเกิดไฟไหม้ ระบบนี้ช่วยให้การจ่ายน้ำเพื่อดับเพลิงทำได้อย่างต่อเนื่องและมีแรงดันที่เหมาะสม ช่วยลดการแพร่กระจายของเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การละเลยส่วนประกอบการติดตั้งระบบท่อยืนให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับในอาคารเก่าที่สร้างก่อนประกาศข้อกำหนดตามกฎหมายใหม่ อาจส่งกระทบได้หลายด้านในระบบการสูบน้ำดับเพลิง รวมถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้อาศัยในอาคาร
PRV คืออะไร ? หมายถึงอะไรในระบบท่อยืนและเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
PRV คือวาล์วระบายความดัน ย่อมาจาก Pressure Relief Valve ใช้สำหรับระบายหรือควบคุมแรงดันในระบบท่อเพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันในระบบเกินค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งในระบบท่อยืน (Standpipe System) ของระบบดับเพลิง มีการใช้งาน PRV เพื่อลดและควบคุมแรงดันให้เหมาะสมในหลายส่วนตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะในอาคารสูงที่แรงดันของน้ำอาจสูงหรือต่ำเกินไปสำหรับอุปกรณ์ในระบบสปริงเกอร์หรือหัวฉีดน้ำดับเพลิงที่ต้องทำงานในกรณีฉุกเฉิน และทำให้การดับเพลิงล้มเหลว รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย
กรณีแรงดันน้ำต่ำเกินไป อาจเกิดจากการตั้งค่าอุปกรณ์ปั๊มน้ำเพื่อลดปัญหาอุปกรณ์ชำรุดเมื่อทำการทดสอบระบบ หากไม่มีการแก้ไขจะทำให้แรงดันน้ำไม่เพียงพอสำหรับการจ่ายน้ำให้เพียงพอต่อการควบคุมเพลิง
กรณีแรงดันน้ำสูงเกินไป จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบดับเพลิงเสียหายก่อนที่ภารกิจดับเพลิงจะสำเร็จ เช่น ท่อส่งน้ำแตกรั่วที่ชั้นล่าง รวมถึง หัวสปริงเกอร์จ่ายน้ำแตกหรือชำรุด และระบบดับเพลิงทำงานได้ไม่ถึงระยะเวลา 30 นาที ตามที่กฎหมายกำหนด
หน้าที่หลักของ Pressure Relief Valve (PRV):
- ควบคุมแรงดันเกินในระบบ หากแรงดันในท่อส่งน้ำสูงเกินค่าที่ระบบออกแบบไว้ PRV จะเปิดเพื่อปล่อยแรงดันออก ลดความเสี่ยงต่อความเสียหายของท่อหรืออุปกรณ์
- ป้องกันการเสียหายของปั๊ม ในกรณีที่เกิดแรงดันย้อนกลับหรือแรงดันที่ไม่ได้สอดคล้องกับการทำงานของ Fire Pump
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งหรือดูแล PRV และระบบดับเพลิง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ติดต่อทีมงาน Engineering 1986 พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีการเทรนนิ่งให้ลูกค้าเข้าใจงานระบบและบำรุงรักษาเบื้องต้นได้ด้วยคนเอง
Pressure Relief Valve (PRV) ตัวหลักในระบบท่อยืน หรือที่เรียกว่า Main Relief Valve (MRV) มีความสำคัญอย่างไร
การรักษาประสิทธิภาพของระบบดับเพลิง ทำให้การส่งน้ำไปยังหัวฉีดหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพื่อส่งน้ำไปยังอาคารสูง ต้องมีการติดตั้งระบบ Fire Pump เพื่อส่งน้ำเข้าไปยังระบบท่อยืนด้วยแรงดันสูง และส่วนประกอบภายในท่อจนถึงปลายหัวจ่าย จะต้องมีมาตรฐานในการตรวจสอบความดัน รักษาแรงดัน และส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อให้อัตราการไหลของน้ำหรือปริมาณน้ำเพียงพอต่อระบบดับเพลิง และมีส่วนประกอบหลายส่วนที่สำคัญในการดับเพลิง
ส่วนประกอบที่สำคัญในระบบดับเพลิงในอาคารสูง
- Fire Pump
ปั๊มน้ำที่ช่วยเพิ่มแรงดันให้กับระบบท่อยืน โดยปั๊มนี้เป็นหัวใจสำคัญของระบบในอาคารสูง เพื่อให้การส่งน้ำเพียงพอต่อการส่งน้ำไปยังชั้นสูง ระบบ Fire Pump เมื่อเดินเครื่องจะมีการส่งน้ำเข้าไปยังระบบท่อยืนด้วยแรงดันสูง - วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Relief Valve – PRV)
ติดตั้งในระบบเพื่อควบคุมแรงดันน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในแต่ละชั้น โดยเฉพาะในอาคารสูงที่แรงดันน้ำในชั้นล่างอาจสูงเกินไป และหากเป็นตัวหลักที่มีขนาดใหญ่ มีการติดตั้งระหว่างเครื่อง Fire Pump และระบบท่อยืน จะเรียกว่า Main Pressure Relief Valve (MPV) - Flow Meter และ Pressure Gauge
อุปกรณ์วัดอัตราการไหลและแรงดันน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถส่งน้ำได้ตามความต้องการ และสามารถรับรู้ปัญหาได้ทันที หากเกิดกรณีแรงดันตก หรืออัตราการไหลไม่เพียงพอต่อระบบดับเพลิง - ท่อยืน (Standpipe)
ท่อหลักในแนวตั้งที่ทำหน้าที่ส่งน้ำไปยังชั้นต่าง ๆ ของอาคาร โดยใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อแรงดันน้ำสูง เช่น เหล็กกล้าหรือทองแดง - วาล์วระบายน้ำ (Drain Valve)
ใช้สำหรับระบายหรือปล่อยน้ำออกจากระบบเมื่อมีการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม - ระบบหัวจ่ายน้ำดับเพลิง (Fire Hose Cabinet)
ติดตั้งในแต่ละชั้นของอาคาร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถต่อสายยางดับเพลิงเข้ากับระบบได้ทันที - ระบบหัวจ่ายสปริงเกอร์ (Sprinkler System)
ติดตั้งในแต่ละจุด ตามห้องหรือโถงทางเดิน เป็นระบบอัตโนมัติที่จะเริ่มทำงาน หากมีสัญญาณควันไฟ หรือ Fire Alarm เกิดขึ้น สำคัญอย่างยิ่งในระบบอาคารสำหรับอยู่อาศัย เช่น คอนโด โรงแรม สำนักงานต่างๆ เพราะมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติระหว่างรอเจ้าหน้าที่มาดำเนินการควบคุมเพลิงจะช่วยชะลอความรุนแรงของสถานการณ์ รวมถึงอาจควบคุมเพลิงได้ก่อนปัญหาจะลุกลาม
หากอุปกรณ์และส่วนประกอบใดชำรุดเสียหาย หรือการติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน อาจส่งผลกระทบต่อทั้งระบบดับเพลิง โดยเฉพาะการไม่ติดตั้ง PRV หรือ MRV (Main Pressure relief valve) ในระบบท่อยืน (Standpipe System) ในระบบดับเพลิงของอาคารสูงที่ก่อสร้างและติดตั้งระบบก่อนมาตรฐานใหม่กำหนดอาจเกิดผลกระทบดังนี้
- แรงดันน้ำสูงเกินไปในระบบ
- แรงดันน้ำในท่อยืน โดยเฉพาะในอาคารสูงที่ใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูง (High-Pressure Pumps) อาจเกินระดับที่อุปกรณ์ปลายทาง เช่น หัวฉีด (Nozzles) หรือหัวจ่ายน้ำดับเพลิง (Hose Connections) รองรับได้
- ส่งผลให้อุปกรณ์เสียหายหรือใช้งานไม่ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น หัวฉีดน้ำอาจพังหรือเกิดการรั่วซ
- อันตรายต่อผู้ใช้งาน
- ในกรณีที่แรงดันน้ำสูงกว่ามาตรฐาน (เช่น เกิน 175 psi ตามมาตรฐาน NFPA 14) เจ้าหน้าที่ดับเพลิงหรือผู้ใช้งานอุปกรณ์อาจไม่สามารถควบคุมหัวฉีดน้ำได้ เนื่องจากแรงดันน้ำสูงจนเกิดแรงสะบัด ทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
- ความเสียหายต่อโครงสร้างและระบบ
- ท่อในระบบท่อยืนและข้อต่ออุปกรณ์ที่ไม่ได้ออกแบบมารองรับแรงดันสูงอาจเกิดการระเบิดหรือแตก ซึ่งจะทำให้น้ำรั่วไหลจำนวนมากและไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินได้
- ความเสียหายต่อระบบทั้งหมดอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและทำให้อาคารขาดระบบดับเพลิงชั่วคราว
- การไม่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐาน
- อาคารสูงที่ไม่มี MPV หรือระบบควบคุมแรงดันจะไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใน กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) และ มาตรฐาน NFPA 14 ซึ่งอาจนำไปสู่บทลงโทษทางกฎหมายหรือการถูกสั่งปิดอาคารในกรณีที่เกิดการตรวจสอบ
- ลดประสิทธิภาพของระบบดับเพลิง
- แรงดันน้ำที่ไม่เหมาะสมทำให้ระบบดับเพลิงไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องใช้แรงดันน้ำที่แตกต่างกันในแต่ละชั้นของอาคาร (เช่น ชั้นบนสุดกับชั้นล่างสุด)
- น้ำอาจไม่ถูกส่งถึงปลายทาง หรือส่งไปในปริมาณและแรงดันที่ไม่เพียงพอ
แนวทางแก้ไข การตรวจสอบและติดตั้งระบบท่อยืนให้เป็นไปตามมาตรฐาน
การบำรุงรักษาระบบท่อยืนอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ระบบทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในยามฉุกเฉิน โดยการแก้ไขระบบ รวมถึงมีการตรวจสอบระบบดับเพลิงจากผู้ตรวจสอบที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร และดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับคำแนะนำให้แก้ไข
ทีมงาน Engineering 1986 นอกจากบริการตรวจสอบระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และระบบดับเพลิงด้วยน้ำแล้ว เรายังมีบริการแก้ไข ซ่อมแซม บำรุงรักษา ไม่ว่าจะเป็น Preventive maintenance หรือ Corrective maintenance ระบบดับเพลิงให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- การตรวจสอบแรงดันน้ำและอัตราการไหล
เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำสามารถส่งไปถึงทุกจุดของอาคารได้ตามมาตรฐาน เรามีบริการ Performance test และ Hydrants test เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - การตรวจสอบวาล์วและอุปกรณ์
การทำงานของระบบต่างๆ ต้องมีการตรวจสอบการติดตั้ง สภาพของอุปกรณ์ ให้พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดเสียหาย ภายในระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จนไปถึงการส่งน้ำด้วยระบบท่อยืน และหัวจ่ายน้ำ เช่น Hose system และ sprinkler system เราตรวจสอบทุกอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น PRV, หัวจ่ายน้ำ และวาล์วควบคุม ต้องทำงานได้อย่างถูกต้องและไม่มีการรั่วไหล เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน - การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ในระบบท่อยืน รวมถึงให้บริการ Overhaul เครื่องยนต์
หลายครั้งที่อุปกรณ์ไม่สามารถใช้การได้ดี ไม่ได้เกิดจากการชำรุด แต่เกิดจากการสะสมของตะกรันหรือสิ่งสกปรกที่อาจลดประสิทธิภาพของระบบ หากมีการบำรุงรักษาและทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง จะสามารถยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้ - การทดสอบระบบหัวจ่ายน้ำ เช่น Hydrants Test หรือ Sprinkler Test
ทดสอบการทำงานของระบบเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ในสถานการณ์จริง และออกรายงานการรับรองตามมาตรฐานของสภาพวิศวกรและ NFPA25 ให้กับลูกค้า รวมถึงมีระบบเอกสารออนไลน์ที่ติดตั้งรับรองไว้ที่หน้างาน ลูกค้าจึงหมดกังวลเรื่องเอกสารว่าจะมีการสูญหายหรือเสียหายจากสภาพแวดล้อม
หากพบปัญหา ท่อยืนในระบบดับเพลิง ผู้บริหารอาคารอย่างมืออาชีพ ไม่ควรละเลยและติดต่อวิศวกรมืออาชีพเข้าดูแลทันที เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อาศัย ดำเนินการติดต่อทีมงาน Engineering 1986 ให้บริการ ปรับปรุงแก้ไขระบบ Corrective maintenance fire pump system บริการติดตั้ง Pressure Relief Valve (PRV) หรือ Main Pressure Relief Valve (MRV) อย่างมีมาตรฐาน รวมถึงเครื่องมือวัดในระบบท่อยืน ทั้ง Pressure Gauge และ Flow meter ที่มีคุณภาพ เหมาะสมต่อการใช้งานให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ปั๊มดับเพลิง ยกเครื่องใหม่ Overhaul Engine Fire Pump ออกเอกสารรับรองรายงานการตรวจสอบรายปี ตามมาตรฐานจากสภาวิศวกร
ติดต่อ Engineering 1986 วิศวกรตรวจสอบระดับปั๊มดับเพลิง งานซ่อมฉุกเฉิน งานซ่อมรายครั้ง
🔸 บริการงานซ่อมบำรุงระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประจำปี Preventive Maintenance Fire Pump System ต่อครั้ง/รายปี จากทีมงานมืออาชีพ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย มีเอกสารรับรองมาตรฐานเครื่องมือ
🔸 บริการงานซ่อมเชิงแก้ไข ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Corrective maintenance Fire pump System
🔸 บริการงานทดสอบระบบดับเพลิงด้วยน้ำ Fire Pump Performance test , Hydrants test , Sprinkler test
🔹 บริการครบวงจร ไม่ว่าจะงานด้านตรวจสอบและแจ้งข้อเสนอแนะในการซ่อมบำรุง ให้คำปรึกษางานซ่อมตลอดระยะเวลาสัญญา หรืองานซ่อม พร้อมจบทุกปัญหาให้ลูกค้า ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล
🔹 ติดตามประวัติการซ่อมบำรุงได้จากระบบออนไลน์ เพียงสแกน QR code สติ๊กเกอร์รับประกันการตรวจสอบจาก Engineering 1986 ให้พร้อมสำหรับการ Audit ทุกเวลา
👨🏻🔧 เลือกใช้บริการ Engineering 1986 มีใบรับรองจากสภาวิศวกร ทำให้มั่นใจในความปลอดภัยได้เสมอ
24 Hours Hotline ‼️
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ปรึกษางานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻
👩🏻🔧ฝ่ายขาย
☎️ Tel : 02-159-9477
☎️ Tel : 065-440-4513
📧 E-mail : sales@engineering1986.com
📧 E-mail : manager@engineering1986.com
👨🏻🔧ฝ่ายวิศวกรรม
🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86
☎️ Tel : 02-159-9477
☎️ Tel : 063-072-9452