Engineering1986 > สาระความรู้ > บำรุงรักษา Fire Pump ตามกฎหมายระบบดับเพลิงโรงงาน ที่โรงงานปิโตรเคมีไม่ควรมองข้าม

โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตและแปรรูปสารเคมีที่ได้จากกระบวนการปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ สารเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมีชนิดต่างๆ ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น การผลิตพลาสติก ยาง สารเคมีทางการเกษตร น้ำมันหล่อลื่น ผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมหลายแขนง

กระทรวงอุตสาหกรรม จัดประเภทโรงงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียม เป็น “โรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสูง” เพราะปิโตรเคมีและปิโตรเลี่ยม หรือสารที่แปรรูปมาจากปิโตรเลียมนั้น ล้วนเป็นวัตถุไวไฟ มีลักษณะที่ทาให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

อ้างอิง : ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

โรงงานอุตสาหกรรมใดบ้างที่เข้าข่ายเป็นโรงงานปิโตรเคมีและปิโตรเลียม

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียมเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและการผลิตสินค้าทางเทคโนโลยี มีผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่เกิดจากการแปรรูปมาจากปิโตรเคมี ที่มีคุณสมบัติเป็นวัตถุไวไฟ ที่ติดไฟได้ง่าย จึงถูกจัดอยู่ในโรงงานที่เป็น “โรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสูง” โรงงานที่ใช้วัตถุตั้งต้นจากปิโตรเคมีหรือเป็นส่วนประกอบหนึ่งในกระบวนการผลิตเหล่านี้ จึงต้องให้ความใส่ใจในการป้องกันอัคคีภัยเป็นพิเศษ ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานอย่างร้ายแรง

  • โรงงานอุตสาหกรรมน้ำมัน : โรงงานที่ดำเนินกิจการโดยการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลี่ยมโดยตรงมีหลากหลาย นอกจากแปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังมีอรรถประโยชน์อีกมากมาย ทั้งน้ำมันที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant oil) น้ำมันไฮดรอลิก (Hydraulic Oil)
  • โรงงานผลิตสารตั้งต้นเคมีภัณฑ์: ผลิตสารตั้งต้นที่ใช้ในกระบวนการผลิตสารเคมีอื่นๆ เช่น เอทิลีน โพรพิลีน และบิวทาไดอีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เคมีหลากหลายชนิดในอุตสาหกรรมต่างๆ
  • โรงงานพลาสติก : พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปวัตถุดิบที่ได้จากน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติให้เป็นเม็ดพลาสติก เช่น โพลีเอทิลีน (PE), โพลีโพรพิลีน (PP) ซึ่งนาไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภค
  • โรงงานผลิตยางสังเคราะห์: ใช้วัตถุดิบปิโตรเคมีในการผลิตยางสังเคราะห์ เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน (SBR) และยางนีโอพรีน (Neoprene) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิตยางล้อ
  • โรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์: ผลิตเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ไนลอน (Nylon), โพลีเอสเตอร์ (Polyester), และอะคริลิก (Acrylic) ซึ่งนาไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า
  • โรงงานผลิตสารเคมีทางการเกษตร: ผลิตสารเคมีที่ใช้ในภาคการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และสารกาจัดวัชพืช ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากปิโตรเลียม

ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียม มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดไฟไหม้และการระเบิดเนื่องจากการทางานกับสารไวไฟ การวางระบบป้องกันอัคคีภัยเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่ง จึงควรดำเนินการติดตั้งและบำรุงดูแลรักษา รวมถึงมีการอบรบและซ้อมการหนีไฟ ตามกฎหมายระบบดับเพลิงโรงงานอย่างเคร่งครัด

ระบบป้องกันไฟไหม้ตามกฎหมายระบบดับเพลิงโรงงาน มาตรฐาน NFPA

ในโรงงานประเภทที่ดำเนินกิจการโดยมีวัตถุไวไฟในกระบวนการผลิต เช่นโรงงานปิโตรเคมีและในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนั้น จะต้องมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิงในหลายส่วน ตามมาตรฐานสากล NFPA (National Fire Protection Association) เพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น

1. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยน้ำ (Automatic Sprinkler System)

เหมาะสำหรับพื้นที่ที่สามารถใช้การดับเพลิงด้วยน้ำ เช่น อาคารสำนักงานและพื้นที่ที่ไม่มีสารเคมีไวต่อน้ำ ระบบนี้จะปล่อยน้ำออกมาอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้และมีการตรวจพบอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าค่ากำหนด

2. ระบบดับเพลิงด้วยโฟม (Foam Suppression System)

โฟมเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการดับเพลิงที่เกิดจากของเหลวไวไฟ (เช่น น้ำมันและสารเคมีบางชนิด) เนื่องจากโฟมสามารถครอบคลุมพื้นผิวและตัดการเข้าถึงออกซิเจน ทาให้ไฟดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในพื้นที่ถังเก็บน้ำมัน, คลังน้ำมัน และพื้นที่เก็บสารไวไฟ

3. ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซ (Gas Suppression System)

ใช้ในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้น้ำหรือโฟมได้ เช่น ห้องควบคุมไฟฟ้าและห้องเซิร์ฟเวอร์ ระบบจะปล่อยก๊าซเฉื่อย (เช่น CO₂ หรือสารเคมีพิเศษเช่น FM-200 หรือ Novec 1230) เพื่อลดปริมาณออกซิเจน ทำให้ไฟดับลง

4. ระบบหัวจ่ายน้ำดับเพลิง (Hydrant System)

หัวจ่ายน้ำ (Fire Hydrant) จะติดตั้งรอบโรงงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถเชื่อมต่อและใช้น้ำในการควบคุมเพลิงได้  ระบบนี้ต้องมีการสำรองน้ำปริมาณมากและระบบท่อที่สามารถทนต่อแรงดันสูง

5. ระบบตรวจจับและเตือนภัย (Fire Detection and Alarm System)

ระบบนี้ประกอบด้วยเซนเซอร์ตรวจจับควัน, อุณหภูมิ, และเปลวไฟ ซึ่งสามารถตรวจจับไฟได้อย่างรวดเร็วและแจ้งเตือนเพื่อให้สามารถอพยพคนงานและเตรียมการดับเพลิงได้ทันที  การแจ้งเตือนสามารถแสดงผลผ่านสัญญาณเสียง, ไฟกระพริบ, หรือระบบโทรศัพท์ภายในโรงงาน

6. ระบบป้องกันการระเบิด (Explosion Protection System)

ในโรงงานปิโตรเคมีที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิด ควรมีระบบป้องกันการระเบิด เช่น Venting Panels และระบบระบายความดัน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการระเบิดและป้องกันการแพร่กระจายของเพลิง

7. ระบบปั๊มดับเพลิง (Fire Pump System)

ระบบปั๊มน้ำดับเพลิงทำหน้าที่ในการเพิ่มแรงดันน้าให้กับระบบดับเพลิง รวมถึงหัวจ่ายน้ำและสปริงเกลอร์

ปั๊มดับเพลิงมีทั้งแบบไฟฟ้าและแบบดีเซล เพื่อให้มั่นใจว่ามีแหล่งพลังงานสารองหากเกิดไฟฟ้าดับ

นอกจากการติดตั้งระบบต่างๆอย่างเหมาะสมแล้วการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรฐานและกฎหมายที่กำหนดก็เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง รวมถึงต้องมีมาตรฐานในการการฝึกอบรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยอีกด้วย

โดยเฉพาะในระบบปั๊มดับเพลิง ที่เป็นหัวใจสำคัญของการเตรียมพร้อมในระบบดับเพลิงทั้ง ระบบหัวจ่ายน้าดับเพลิง (Hydrant System) และระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยน้า (Automatic Sprinkler System) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบปั๊บดับเพลิงสามารถจ่ายน้ำได้เพียงพอ และใช้งานได้ดีในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องมีการตรวจสอบระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประจำสัปดาห์ ประจำเดือน และประจำปีตามกฎหมายกำหนด

ทั้งยังต้องมีการยืนยันการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกรอย่าง Engineering 1986 ที่มีความเชี่ยวชาญในระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และมีประสบการณ์ในงานซ่อมบำรุง Fire Pump มากกว่า 10 ปี ดูแลรักษาระบบ Fire Pump ตามมาตรฐานสากล เช่น NFPA (National Fire Protection Association) เพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ทำไมระบบดับเพลิงด้วยน้ำจึงสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์โรงงานไฟไหม้

โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือโรงงานที่มีสารเคมีอื่นๆ การดับเพลิงด้วยน้ำอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการใช้เคมีดับเพลิง หรือระบบดับเพลิงอื่นๆ ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือเคมีชนิดนั้นๆ แต่ในทุกโรงงานต้องมีการบังคับให้ใช้ระบบดับเพลิงด้วยน้ำเป็นระบบพื้นฐานในกระบวนการดับเพลิง เพราะมีเหตุผลสำคัญหลายประการ เนื่องจากน้ำเป็นสารดับเพลิงที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิได้ดีและมีความปลอดภัยสูง คุณสมบัติที่โดดเด่นที่ต้องใช้ระบบน้ำช่วยเสริมในทุกการดับเพลิงเพราะมีข้อดีดังนี้

  1. การลดความร้อนอย่างรวดเร็ว : น้ำสามารถดูดซับความร้อนได้ดีและระบายความร้อนจากเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับสารดับเพลิงประเภทอื่น น้ำสามารถลดอุณหภูมิในบริเวณที่มีไฟไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไฟดับลงได้เร็วและลดการลุกลามไปยังพื้นที่อื่น
  2. ลดควันและก๊าซพิษ : น้ำสามารถช่วยลดการกระจายของควันและก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของสารเคมีได้บ้าง การใช้น้ำทำให้สภาพอากาศบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการอพยพและช่วยให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำงานได้สะดวกขึ้น
  3. ต้นทุนต่ำและปลอดภัย : เมื่อเทียบกับสารดับเพลิงชนิดอื่น เช่น โฟมหรือสารเคมี น้ำมีต้นทุนต่ำและมีอยู่ในปริมาณมาก จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่กว้างใหญ่เช่น โรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ น้ำยังไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของพนักงานเมื่อใช้งาน
  4. เหมาะสำหรับการใช้งานกับไฟประเภท A : ในโรงงานปิโตรเคมีที่อาจมีการเผาไหม้ของวัตถุที่ไม่ติดไฟแรง (Class A Fire) เช่น อุปกรณ์สำนักงาน โครงสร้างอาคาร หรือวัสดุทั่วไป น้ำจึงเป็นสารดับเพลิงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมไฟประเภทนี้
  5. มีความสำคัญในการช่วยชีวิต : ในสถานการณ์ฉุกเฉินอาจมีผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ การที่มีระบบน้าที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตจึงเป็นเรื่องสาคัญยิ่ง เพราะช่วยลดมลพิษ ลดอุณหภูมิ เพิ่มความชื้น และช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตจากความร้อน จึงช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการอพยพมากขึ้น

แม้กว่าการดับเพลิงด้วยน้ำอาจไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงเมื่อต้องเจอกับเคมีหลายชนิดที่อาจอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่สาคัญที่สุดของภารกิจดับเพลิงคือการช่วยชีวิตผู้อยู่อาศัยให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น จึงต้องมีการวางระบบให้หลากหลายและครอบคลุม การดูแลระบบดับเพลิงด้วยน้ำให้ทำงานได้ดีไม่ขาดตกบ่งพร่องในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงเป็นส่วนสาคัญยิ่งที่จะช่วยดำเนินภารกิจดับเพลิงและช่วยชีวิตได้สาเร็จ

ทำไมการทดสอบ Fire Pump ตามกฎหมาย ต้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

ระบบป้องกันอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายและมาตรฐานเฉพาะ เนื่องจากปิโตรเคมีและปิโตรเลียมเกี่ยวข้องกับสารไวไฟและสารเคมีอันตรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอัคคีภัย ดังนั้น การติดตั้งและการดาเนินการของระบบป้องกันอัคคีภัยจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงงาน โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) – เป็นมาตรฐานสากลที่โรงงานในหลายประเทศอ้างอิง รวมถึงหลายๆโรงงานที่มีมาตรฐานสากล ISO เช่น ISO 45001 สำหรับการจัดการความปลอดภัยในการทางานและการจัดการความเสี่ยงในโรงงาน

การควบคุมเหล่านี้มีขึ้นเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดอัคคีภัย รวมถึงการวางมาตรการที่จำเป็นในการตอบสนองต่อเหตุการณ์อัคคีภัยให้มีประสิทธิภาพ การทดสอบ Fire Pump ตามกฎหมาย มีระบบที่ซับซ้อน และมีอุปกรณ์หลายส่วนที่เกี่ยวข้องกัน จึงต้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกรรม ตามตารางการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบดับเพลิงโรงงานตามกฎหมายที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพ Fire Pump ได้ที่ :

Fire Pump Performance test การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องปั๊มน้าดับเพลิง ตามมาตรฐาน NFPA 25

นอกจากการทดสอบตามมาตรฐานแล้ว การดูแล เครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ที่ต้องเตรียมไว้ให้เดินเครื่องได้เมื่อไฟฟ้าดับ ก็มีความซับซ้อนและต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานเช่นกัน

ทีมงาน Engineering 1986 บริการซ่อมบำรุง Fire Pump ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพ พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่มีมาตรฐาน เพื่อดูแลรักษาระบบของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้อย่างครอบคลุมตามมาตรฐาน ทั้งงานตรวจสอบแบตเตอรี่ บำรุงรักษาระบบหล่อลื่น ระบบน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเชื้อเพลิง เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ระบบควมคุมเป็นตัวสั่งการทางานของเครื่องสูบน้ำโดยผ่านโซลีนอยส์ วาลว์ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและปั๊มน้ำเลี้ยง รวมถึงให้คำแนะนาลูกค้าในการทดสอบการทางานของเครื่องสูบน้ำทุก ๆ เดือน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน

พบปัญหางานซ่อมบำรุง Fire Pump ต้องการผู้ช่วยวิศวกรตรวจสอบ ดูแลเครื่องสูบน้ำดับเพลิง เพื่อความปลอดภัยของบุคลากร ติดต่อ Engineering 1986

  • PM Fire Pump ต่อครั้ง/รายปี บริการงานซ่อมบำรุง จากทีมงานมืออาชีพ พร้อมเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
  • มีเทรนนิ่งให้ลูกค้าตลอดระยะเวลาสัญญา รายงานผลและแจ้งข้อเสนอแนะในการซ่อมบารุง
  • มี QR CODE สแกนเข้าโปรแกรม ติดตามประวัติการซ่อมบารุงได้จากหน้าเครื่อง แก้ปัญหาเอกสารหาย
  • Overhaul Fire Pump ยกเครื่องใหม่ / PM Fire Pump ประจาปี / Performance test Fire pump ให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย
  • Engineering 1986 เป็นผู้ให้บริการที่มีใบรับรองจากสภาวิศวกร ทำให้มั่นใจในความปลอดภัยได้เสมอเลือกใช้บริการ

24 Hours Hotline ‼️

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ปรึกษางานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452