Engineering1986 > ติดตั้ง Gateway Monitoring ตัวช่วยวางแผนงานซ่อม Generator > การตรวจสอบ Generator ตามมาตรฐานตามแบบฟอร์มจากสภาวิศวกร

การตรวจสอบ Generator ตามมาตรฐานตามแบบฟอร์มจากสภาวิศวกร

การตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสำหรับอาคารและสถานประกอบการ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าขัดข้องตามระบบสาธารณะ นอกจากนั้น ยังเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายของไทย โดยมีกฎหมายหลายข้อที่เกี่ยวกับกับระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น

  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
  • พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2551
  • พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550)
  • ทั้งนี้ผู้ประกอบการทั้งในอุตสาหกรรมโรงงาน อาคารสำนักงาน การโรงแรมและการท่องเที่ยว จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและปฏิบัติตาม ให้มีตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นประจำ ตาม มาตรฐาน วสท.112002-59 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และรับรองโดยผู้ตรวจสอบที่มีใบประกอบวิชาชีพที่ได้ใบอนุญาตจากสภาวิศวกร

Engineering 1986 เราเป็นผู้ให้บริการตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาตรฐานโดยทีมวิศวกรมืออาชีพ ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร รวมถึงให้คำแนะนำและจัดอบรมให้แก่ทีมงานช่างและวิศวกรผู้ดูแลอาคารของท่าน

มี QR Code ตรวจสอบเอกสารออนไลน์ได้จากสติ๊กเกอร์หน้าเครื่อง ไม่ต้องวุ่นวายหาเอกสาร โดยทีมงานของเรามีการตรวจสอบตามแบบฟอร์มจากสภาวิศวกร รวมถึงมาตรฐานสากล NFPA110 generator testing

การตรวจสอบบำรุงรักษา Generator ประจำปีสำหรับอาคารและโรงงาน เพื่อความปลอดภัยและได้การรับรองทางกฎหมาย

ในอาคารขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานมาก เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม Generator หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินจำเป็นต้องสามารถใช้ได้ตลอดเวลาในยามฉุกเฉิน สำรองพลังงานไฟฟ้าให้แก่ระบบสำคัญของอาคารในกรณีไฟฟ้าขัดข้อง ลดความเสียหายของธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี รวมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์และระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องดำเนินการโดยวิศวกรที่มีใบอนุญาตที่ออกโดย สภาวิศวกร อย่างทีมงาน Engineering 1986 หัวข้อที่เราทำการตรวจสอบ ครอบคลุมทุกระบบการทำงาน การตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบระบายความร้อน ระบบเชื้อเพลิง ระบบแบตเตอรี่ และการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีการทำ Load test และ Performance test หัวข้อที่ทำการตรวจสอบมีดังนี้

การตรวจสอบ Generator เครื่องกำเนิดไฟฟ้าว่าไม่มีความเสียหายหรือชำรุด

  • ข้อมูลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (DATA REPORT)
  • หมายเลขรุ่น, ผู้ผลิต, วันที่ติดตั้ง, ชั่วโมงการทำงาน, สเป็คสินค้า
  1. เครื่องยนต์ (Engine) 2. ไดนาโม (Dynamo) 3. ชุดควบคุม (Controller)
  • แบตเตอรี่ (BATTERY)
  • ความสะอาด สภาพขั้วและสายแบตเตอรี่ให้พร้อมใช้งาน
  • ตรวจสอบสภาพจุดต่อสายที่เชื่อมกับมอเตอร์สตาร์ท
  • ระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่
  • ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ทุกลูก
  • ระยะเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่
  • ระบบน้ำมันหล่อลื่นและเชื้อเพลิง (LUBRICANT OIL AND FUEL)

– ตรวจสอบสภาพโดยรอบถังน้ำมันให้ได้มาตรฐานในการใช้งาน

– ตรวจสอบระดับน้ำมันและสภาพสีของน้ำมันให้อยู่ในเกณฑ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพ

– ตรวจสอบระบบกรองน้ำมันหล่อลื่นและกรองน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ระบบหล่อเย็น (COOLING SYSTEM)

– ตรวจสอบสภาพหม้อน้ำ ฝาหม้อน้ำ และท่อน้ำหล่อเย็น

– ตรวจสภาพรอยรั่วตามจุดยึดและเข็มขัดรัดท่อ ข้อต่อตามจุดต่างๆ

– ตรวจสอบสายพานพัดลมระบายอากศ

– ตรวจระดับน้ำและสีของน้ำหล่อเย็น

  • การทำงานของไดนาโม (INSPECTION OF DYNAMO)

– ความสะอาดของอุปกรณ์และจุดต่อยึด และบัสบาร์

– ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของขดลวด

  • การทำงานของชุดควบคุม (INSPECTION OF CONTROLLER)

ความสว่างของพื้นที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

– อุปกรณ์ต่างๆไม่ชำรุดและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ฟิวส์ในตู้ควบคุม สภาพสายไฟ มิเตอร์หรือเกจวัดหน้าตู้ควบคุม

  • การทดสอบด้วยกล้องจับอุณหภูมิ (INFRARED THERMOSCAN)
  • ตรวจสอบอุณหภูมิผ่านกล้องอินฟาเรดตรวจจับความร้อน (INFRARED THERMOSCAN) เพื่อให้มั่นใจอีกขั้นว่าการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆทำงานได้อย่างปกติ และไม่มีชิ้นส่วนที่ชำรุด

 

ทดสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยใช้การ Load Test เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การ Load test คือ การทดสอบสมรรถนะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดย ทดสอบด้านสมรรถนะและฟังก์ชั่นการทำงาน ตามสถานการณ์การใช้งานจริง

  • การทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์: ตรวจสอบการสตาร์ท การทำงานต่อเนื่อง และการหยุดเครื่อง ความเร็วรอบเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมันหล่อลื่น อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
  • การทดสอบค่าพลังงานไฟฟ้า (ELECTRICAL ENERGY TEST) : ทดสอบแรงดันไฟฟ้า – ทดสอบกระแสไฟฟ้า(KA) –  Grounding system test
  • การตรวจสอบความเสถียรของระบบ: ตรวจสอบว่าแรงดันไฟฟ้าและความถี่คงที่หรือไม่ระหว่างการทำงาน และไม่มีการผันผวนที่อาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • การทดสอบการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ (VIBRATION TEST) : ให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน (ISO 10816-1)

Generator Performance Test ทดสอบความสามารถในการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าภายใต้สภาวะการทำงานจริงและโหลดสูงสุด เพื่อประเมินความสามารถในการผลิตไฟฟ้าและความเสถียรในการทำงาน ใช้เวลาทดสอบอย่างน้อย 30 นาที และเก็บสถิติตามระยะเวลา เปรียบเทียบเป็นกราฟเชิงเส้น เทียบกับมาตรฐานที่กำหนดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

– 1.ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 2.แรงดันน้ำมันเครื่อง 3.อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น 4.ความถี่ของเครื่องกำเนิด 5.แรงดันไฟฟ้าของเครื่องกำเนิด 6. เวลาทดสอบ TIME นาที

 

ตามตัวอย่าง

ตรวจสอบตาม แบบฟอร์มการตรวจสอบ Generator ประจำปี จากสภาวิศวกร

สภาวิศวกรมีข้อกำหนดในการตรวจเช็คตามรายการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นแบบฟอร์มการตรวจเช็คให้ได้มาตรฐานดังนี้

การตรวจเช็คเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ประจำปีสำหรับอาคาร สำนักงาน หรือโรงแรมที่ใช้ในยามฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายจากไฟฟ้าดับหรือสถานการณ์ที่ไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มความมั่นใจว่าระบบสำรองไฟจะสามารถทำงานได้เมื่อจำเป็น

หากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจส่งผลกระทบต่อ ระบบความปลอดภัย เช่น ไฟฉุกเฉิน ลิฟต์ ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ก็จะไม่สามารถทำงานได้ และส่งผลเสียต่อกิจกรรมทางธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

พบปัญหางานซ่อมบำรุง Generator ต้องการผู้ช่วยวิศวกรตรวจสอบดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าอาคาร

ติดต่อ Engineering 1986 ตรวจสอบ Generator ตามมาตรฐาน

🔸 บริการงาน PM Generator ต่อครั้ง/รายปี จากทีมงานมืออาชีพ วิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียด

🔹 นัดประชุมกับลูกค้าหลังทำงานเสร็จเพื่อรายงานผลการดำเนินการทั้งหมด

🔹 มี QR CODE โปรแกรมแจ้งแผนงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากหน้าเครื่อง ไม่ต้องวุ่นวายหาเอกสาร

🔹บริการเสริม ติดตั้ง Generator Gateway เพื่อดูสถานะการทำงานของเครื่องได้แบบ Realtime ผ่านอินเทอร์เน็ต รู้ปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

👨🏻‍🔧 ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร เตรียมเครื่องยนต์ของคุณให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เลือกใช้บริการ Engineering 1986

24 Hours Hotline ‼️

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452