Engineering1986 > สาระความรู้ > ดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ให้พร้อมใช้ รับมือปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกในระบบไฟฟ้าแรงดันสูง

ดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ให้พร้อมใช้ รับมือปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกในระบบไฟฟ้าแรงดันสูง

ระบบไฟฟ้าแรงดันสูงเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับโรงงานและอุตสาหกรรมที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและเสถียร โดยเฉพาะในระบบที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงระดับ 115kV ซึ่งใช้ในโรงงานขนาดใหญ่

เพื่อรับมือปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟส มากกว่า 1 ตัว เพื่อให้รองรับการใช้ไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินให้ผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อระบบการผลิตและให้ธุรกิจไม่สะดุดระหว่างเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งเป็นระบบกำเนิดไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้าแรงสูงและสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ตามวัตถุประสงค์ของโรงงาน

  • สำรองพลังงานในกรณีที่เกิดไฟฟ้าดับ
  • รองรับระบบเครื่องจักรที่ต้องใช้พลังงานสูงอย่างต่อเนื่อง
  • ลดความเสี่ยงในการหยุดชะงักของการผลิตที่เกิดจากการสูญเสียพลังงาน

ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟสนี้ ประกอบด้วยสายไฟสามเส้นที่มีแรงดันไฟฟ้าซึ่งแตกต่างกันเป็นระยะๆ ทำให้สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าที่สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบเฟสเดียว ใช้งานกันมากในภาคอุตสาหกรรม โรงงาน และอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่องและมีเสถียรภาพการดูแลรักษาและเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟสให้พร้อมใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าตกที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

การเตรียมรับมือเมื่อแรงดันไฟฟ้าตกในระบบไฟฟ้าแรงดันสูง

แรงดันไฟฟ้าตก (Voltage Sag) เป็นเหตุการณ์ที่แรงดันไฟฟ้าในระบบลดลงอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • การใช้งานอุปกรณ์ที่มีกำลังสูงมาก มีการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงเวลาเดียวกัน
  • การที่มีการเสียหายเกิดขึ้นในสายส่งหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกในประเทศไทย เช่น ปัญหาระบบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น พายุ ฟ้าผ่า หรือลมแรง ซึ่งทำให้สายส่งไฟฟ้าหลุดออก หรืออุปกรณ์อย่างหม้อแปลงเสียหาย

แรงดันไฟฟ้าตกอาจส่งผลให้เครื่องจักรหยุดทำงาน หรือทำงานผิดปกติ ซึ่งสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบไฟฟ้าแรงดันสูง การเตรียมความพร้อมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง อย่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟส ให้มีจำนวนการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอ เป็นการป้องกันที่สำคัญเพื่อให้สามารถจ่ายไฟสำรองได้ทันทีเมื่อไฟฟ้าหลักมีปัญหา มีสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษดังนี้

  1. ใช้ Automatic Transfer Switch (ATS) ในการสลับแหล่งจ่ายไฟฟ้า
  • ATS เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตรวจสอบสถานะของแหล่งจ่ายไฟหลักและสลับไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อแรงดันไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับ การใช้ ATS ช่วยให้การสลับแหล่งจ่ายไฟเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเสถียร ลดการหยุดชะงักของระบบการทำงานในโรงงาน
  1. การเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน
  • การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง และมีจำนวนเครื่องที่มากพอ ช่วยสร้างพลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอ ทำให้มั่นใจว่าเครื่องจะสามารถทำงานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับ รวมถึงต้องการทำ Load Test เป็นประจำ ทั้งหลังการติดตั้งและระหว่างรอบดูแลรักษา เพื่อให้สามารถตรวจสอบว่าเครื่องมีศักยภาพเพียงพอที่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน
  • การดูแลและทำการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

การดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟสอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับประกันว่าเครื่องจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ทั้งนี้ควรเลือกใช้ผู้ให้บริการที่มีอุปกรณ์ตรวจเช็คครบครัน และมีความเป็นมืออาชีพที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร

ปัญหาจากแรงดันไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าขัดข้องในระบบแรงดันสูงส่งผลอะไรได้บ้าง

  1. ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าที่ต่ำกว่าปกติสามารถทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และมอเตอร์ที่ต้องใช้แรงดันคงที่
  2. ประสิทธิภาพการผลิตลดลง ในโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตอาจต้องหยุดชะงักเมื่อเกิดไฟฟ้าขัดข้อง หรือในกรณีที่แรงดันไฟฟ้าตก อุปกรณ์อาจทำงานช้าลงหรือลดประสิทธิภาพ ทำให้กระบวนการผลิตเกิดความล่าช้าและเพิ่มต้นทุนการดำเนินงาน
  3. เพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การที่อุปกรณ์เสียหายจากไฟฟ้าขัดข้องจะทำให้ต้องซ่อมแซมและบำรุงรักษาบ่อยขึ้น นำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
  4. ความเสี่ยงต่อความปลอดภัย ในโรงงานหรืออุตสาหกรรมที่มีการใช้อุปกรณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น ระบบระบายความร้อนหรือระบบระบายอากาศ การที่ไฟฟ้าขัดข้องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
  5. ผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจ สำหรับธุรกิจที่ต้องการการจ่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ข้อมูล (Data Center) หรือการผลิตที่มีความสำคัญ การเกิดไฟฟ้าขัดข้องบ่อยครั้งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
  6. การสึกหรอของอุปกรณ์ไฟฟ้าเร็วขึ้น เมื่ออุปกรณ์ต้องทำงานที่แรงดันไม่สม่ำเสมอหรือทำงานหนักขึ้นเพื่อชดเชยแรงดันตกบ่อยๆ จะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ลดลงและมีความเสี่ยงในการเสียหายสูงขึ้น

การเตรียมพร้อมและการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองสำหรับโรงงานที่จำเป็น จะช่วยลดผลกระทบจากแรงดันไฟฟ้าตกและปัญหาขัดข้องในระบบไฟฟ้าแรงดันสูง

 

วิธีการดูแลระบบไฟฟ้าสำรอง Generator ให้พร้อมใช้งาน สำหรับโรงงานขนาดใหญ่

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เฟสมีบทบาทสำคัญในโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการพลังงานต่อเนื่องและเสถียร เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้โดยไม่เกิดการหยุดชะงัก โดยเฉพาะในโรงงานที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายตัวเพื่อให้ระบบไฟฟ้าสำรองผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง หากมีการกระทบต่อภาคการผลิตและสร้างความเสียหายให้กับเครื่องจักร จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล

การวางแผนซ่อมบำรุงที่ดีช่วยลดความเสี่ยงในการเสียหายของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องจักรในสายงานการผลิต หากลดปัญหาเรื่องไฟกระชากจากภาวะแรงดันไฟฟ้าตกชั่คราวหรือจากปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง จะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมงาน Engineering 1986 มืออาชีพด้านงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เรามีขั้นตอนที่รัดกุมและวางแผนงานอย่างเป็นระบบ เพื่อดูแลระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของลูกค้าให้ตอบโจทย์ตามการใช้งาน และได้รับความปลอดภัยสูงสุด

  1. วิเคราะห์สถานะการใช้งานและความสำคัญของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละตัว
  • ประเมินการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละตัวในระบบว่ามีหน้าที่ในการสนับสนุนโหลดในส่วนใดของโรงงาน ซึ่งช่วยให้ทราบว่าเครื่องใดควรได้รับการดูแลบำรุงรักษาเป็นลำดับต้นๆ ของแผนการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งหมดของโรงงาน
  1. สร้างแผนการบำรุงรักษาตามรอบเวลาหรือสภาพการใช้งาน
  • แบ่งรอบการซ่อมบำรุงตามประเภท เช่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM: Preventive Maintenance) ที่ทำตามรอบเวลา และการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (CM: Corrective Maintenance) เมื่อพบปัญหาที่ต้องการซ่อมแซม
  1. บริการเสริม Gateway Monitoring ช่วยดูแลระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Realtime
  • ในกรณีที่โรงงานติดตั้งบริการเสริม Gateway Monitoring จะช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะเครื่องแบบเรียลไทม์ และส่งข้อมูลไปยัง Application/Email หรือ SMS ทำให้สามารถวางแผนซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
  1. มีระบบเอกสาร QR Code สำหรับเอกสาร Preventive Maintenance
  • มีระบบเอกสารออนไลน์ ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารหาย ทั้งยังมีการแจ้งเตือนเมื่อใกล้ครบอายุการซ่อมบำรุงรักษาประจำปี จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากขาดการบำรุงหรือตกแผนบำรุงรักษา จนอาจจะทำให้เครื่องเสื่อมสภาพและเสียหาย
  1. วางแผนการจัดสรรบุคลากรและงบประมาณ
  • การวางแผนที่ชัดเจนในการดำเนินการ ประเมินความจำเป็นในการใช้บุคลากรและอุปกรณ์ที่เหมาะสม และตั้งงบประมาณสำหรับการซ่อมบำรุงแต่ละประเภท เพื่อความรวดเร็วในการทำงานซ่อม และบริหารจัดการเวลา มีกำหนดการที่ชัดเจนทำให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยบริหารจัดการภายในโรงงานได้ง่ายขึ้น
  1. มีรายงานประชุมและข้อเสนอแนะให้กับลูกค้า
  • ให้คำแนะนำและคำปรึกษางานซ่อมบำรุงให้กับช่างภายในบริษัทของลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าประหยัดงบประมาณในการจ้างงานซ่อม หากช่างภายในบริษัทสามารถทำเองได้
  1. มี Hotline 24 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาดูแล
  • ตลอดระยะเวลารับประกันงาน 1 ปี ทางทีมงาน Engineering 1986 มีระบบบริการหลังการขายที่ให้คำแนะนำลูกค้า ช่วยดูแลงานซ่อม และรับเรื่องซ่อมบำรุงฉุกเฉินให้ลูกค้าอุ่นใจและเพิ่มความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

ความแตกต่างของการทดสอบระบบไฟฟ้าสำรอง ในโรงงานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

ในระบบการทำงานภายในโรงงานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก นอกจาก การเลือกและการใช้ Load Bank เพื่อทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ในโรงงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่นั้นแตกต่างกันในแง่ของขนาดและความต้องการในการใช้งานแล้ว ยังมีขั้นตอนและวิธีการที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมากกว่า จึงควรเลือกใช้บริการจากวิศวกรมืออาชีพที่มีประสบการณ์

  • ขนาดของการทดสอบ Load Bank

โรงงานขนาดใหญ่ที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังสูงต้องใช้ Load Bank ที่รองรับกำลังไฟสูง เช่น 1,000 kW ขึ้นไป ในขณะที่โรงงานขนาดเล็กอาจใช้ Load Bank ขนาดเล็กกว่า เช่น 100-500 kW ซึ่งข้อจำกัดของผู้ให้บริการทดสอบอาจขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและเครื่องมือที่รองรับการทดสอบ

  • ประเภทของการทดสอบ

โรงงานขนาดใหญ่มีแนวโน้มต้องการการทดสอบอย่างละเอียด เช่น Full Load หรือ Step Load Test เพื่อให้มั่นใจในความเสถียรของระบบ ขณะที่โรงงานขนาดเล็กอาจเน้นการทดสอบ Partial Load เพื่อตรวจสอบการทำงานเบื้องต้น

  • ระบบควบคุมและความปลอดภัย

สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ ระบบการทำงาน รวมถึงการทดสอบ Load Bank จะมีการควบคุมที่ซับซ้อนและฟังก์ชันความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น ระบบระบายความร้อนขั้นสูงและอุปกรณ์ควบคุมแรงดัน เนื่องจากความเสี่ยงสูงกว่าในกรณีที่เกิดความล้มเหลว

  • การตั้งค่าทดสอบและการติดตั้ง

โรงงานขนาดใหญ่ต้องการการวางแผนทดสอบล่วงหน้าและมีบุคลากรที่ชำนาญ ส่วนโรงงานขนาดเล็กอาจติดตั้ง Load Bank และดำเนินการทดสอบได้ง่ายกว่า

การเลือกผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์และความน่าเชื่อถืออย่าง Engineering 1986 จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีเครื่องทดสอบที่ทันสมัยและมีมีมาตรฐาน เรามีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ในการดูแลงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่จากหลากหลายอุตสาหกรรม เพิ่มความเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน ด้วยบริการบำรุงรักษาครบวงจร

👨🏻‍🔧  ต้องการผู้ช่วยวิศวกรตรวจสอบดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  ติดต่อ Engineering 1986 ตรวจสอบ Generator ตามมาตรฐาน ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร

🔹บริการ ติดตั้ง Generator Controller และ Gateway Monitoring ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

🔸 PM Generator บริการงานซ่อมบำรุงเชิงบำรุงรักษา ต่อครั้ง/รายปี รวมถึงบริการหลังการขายภายใต้อายุบริการ 1 ปี Hotline 24 ชั่วโมง

🔹 ให้ความสำคัญกับทีมงานของลูกค้า มีบริการเทรนนิ่งฟรี ประชุมปัญหาหลังทำงานเสร็จเพื่อรายงานผลและแนะนำการซ่อม

🔹 ระบบ QR CODE หน้าเครื่องโปรแกรมสำหรับดูแผนงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อม หมดกังวลเรื่องหาเอกสารไม่เจอ

👨🏻‍🔧 เตรียมกำเนิดไฟฟ้า Generator ของคุณให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เลือกใช้บริการ Engineering 1986

24 Hours Hotline ‼️

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452