Engineering1986 > สาระความรู้ > ปัญหาที่พบบ่อย ของเครื่องปั่นไฟ (Generator) วิธีวิเคราะห์สาเหตุและหาวิธีแก้ไข
เครื่องปั่นไฟ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในระบบไฟฟ้าสำรอง ไม่ว่าจะในโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่บ้านพักอาศัย การใช้งานเครื่องปั่นไฟอาจเผชิญกับปัญหาที่หลากหลาย เช่น การสตาร์ทไม่ติด กำลังไฟตก ไฟฟ้าไม่เสถียร หรือการทำงานที่หยุดชะงัก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ แต่ยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีกด้วย
ปัญหาที่พบบ่อยในเครื่องปั่นไฟสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุเพราะทุกอุปกรณ์ทำงานเชื่อมโยงกัน ทั้งยังมีอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้อง การเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีวิเคราะห์อย่างถูกต้อง จะช่วยแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว และลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายรุนแรง
ปัญหาที่พบบ่อยของเครื่องปั่นไฟ (Generator)
ปัญหาที่พบบ่อยของเครื่องปั่นไฟ (Generator) สามารถเกิดจากหลายส่วนของระบบ รวมถึงเครื่องยนต์, ระบบไฟฟ้า, และอุปกรณ์ควบคุม การวิเคราะห์สาเหตุและหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องจะช่วยให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เครื่องปั่นไฟสตาร์ทไม่ติด อาจเกิดจากปัญหาแบตเตอรี่ ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงมีปัญหา ระบบการเผาไหม่ในเครื่องยนต์มีปัญหา หรือชุดควบคุม Generator Controller หรือเซ็นเซอร์ป้องกันทำงานผิดพลาด หรือ ATS ทำงานผิดปกติ
- เครื่องปั่นไฟติดแล้วดับ หรือหยุดทำงานระหว่างใช้งาน อาจเกิดจากความร้อนสูงระหว่างเครื่องทำงาน เพราะระบบเผาไหม้ของเครื่องยนต์หรือระบบระบายความร้อนมีปัญหา เกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้า เช่นไฟฟ้าลัดวงจร หรือ ระบบไฟฟ้าโอเวอร์โหลด (Overload)
- เครื่องปั่นไฟ มีกำลังไฟตก ไฟไม่ออก อาจเกิดจาก ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า (AVR) เสีย หรือมีการสึกหรอของขดลวดหรือแปรงถ่านใน Alternator รวมถึงการจ่ายโหลดไฟฟ้าไม่สมดุล
- มีเสียงดังผิดปกติหรือสั่นสะเทือนมากเกินไป อาจเกิดจากระบบเครื่องยนต์ที่ใช้งานมานาน ชุดปะเก็นเสื่อมสภาพ ทำให้มีอาการเครื่องยนต์หลวม ขาดการบำรุงรักษาโดยการปรับตั้งวาล์ว ขันฝาสูบ เปลี่ยนชุดปะเก็น อาจมีปัญหาเครื่องยนต์มีการจุดระเบิดผิดพลาดหรือมีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หรือการติดตั้งไม่แน่นหรือฐานเครื่องไม่สมดุล
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องปั่นไฟ (Generator) ยังมีอีกมาก เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องเยอะ โดยแนวทางป้องกันปัญหา คือทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก Engineering 1986 ให้ตรวจสอบระบบทั้งหมดเป็นประจำ พร้อมทั้งให้บริการ Hotline ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้คำแนะนำให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้เองเบื้องต้น โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ให้ลูกค้าสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างละเอียดตามอาการของเครื่อง แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
Generator หรือ เครื่องปั่นไฟสตาร์ทไม่ติด อาจเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
ปัญหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) หรือเครื่องปั่นไฟสตาร์ทไม่ติด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในระบบไฟฟ้าสำรอง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุทั้งทางด้านเครื่องยนต์, ระบบไฟฟ้า, หรือระบบควบคุม โดยสามารถแบ่งปัญหาออกเป็นสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
- ปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่
- แบตเตอรี่ไม่มีประจุไฟฟ้า (Battery Discharge) แบตเตอรี่อาจมีแรงดันต่ำเกินไปจึงไม่เพียงพอต่อการสตาร์ทเครื่อง อาจเกิดจากแบตเสื่อมที่เกิดจากแบตเตอรี่ใช้งานเป็นเวลานาน หรือไม่ได้ทำการบำรุงรักษาแบตเตอรี่อย่างถูกต้อง
- Battery Charger เสียหาย ทำให้เมื่อใช้งาน ไม่มีไฟที่วนกลับไปชาร์จแบตเตอรี่ แม้ว่าประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ยังดีอยู่ หรือมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ไม่นาน แต่ภายในแบตเตอรี่กลับไม่มีประจุไฟฟ้าสะสม เพราะไม่ได้รับการชาร์จประจุคืนอย่างเหมาะสมเมื่อใช้งาน
- ขั้วแบตเตอรี่หลวม/มีคราบสนิม การเชื่อมต่อขั้วแบตเตอรี่ไม่แน่น หรือมีสนิมเกาะ ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่ไหล จึงไม่สามารถทำการสตาร์ทเครื่องได้
- ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบเชื้อเพลิง
- น้ำมันเชื้อเพลิงหมด ถังน้ำมันไม่มีเชื้อเพลิงเพียงพอสำหรับการสตาร์ท แนะนำตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีเพียงพอต่อการใช้งาน และเติมน้ำมันไม่ต่ำกว่า 80% ของปริมาตรถังอยู่เสมอ
- น้ำมันเชื้อเพลิงปนเปื้อนน้ำ ส่งผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ หรืออาจส่งผลร้ายแรงต่อส่วนประกอบอื่นๆ จนเสียหายได้ อาจเกิดจากผู้จำหน่ายน้ำมันที่ไม่มีมาตรฐาน หรือมีการรั่วซึมในถังน้ำมันเชื้อเพลิง จนทำให้เกิดอากาศหรือความชื้นสะสมภายใน
- ปั๊มน้ำมันไม่ทำงาน (Diesel fuel pump or Injection pump) อาจเกิดจากอุปกรณ์ปั๊มมีความเสียหายหรือกรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน จะต้องทำการรื้อถอนชิ้นส่วนเพื่อทำความสะอาดและตรวจสอบ จากนั้นจึงเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เข้าไปแทนที
- หัวฉีดมีปัญหา อาจเกิดจากหัวฉีดชำรุด หรือเกิดการอุดตัน ทำให้การส่งน้ำมันไปยังห้องเครื่องเผาไหม้ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ อาจเกิดจากอายุการใช้งาน หรือการขาดการบำรุงรักษา การเปลี่ยนไส้กรองน้ำมัน หรือน้ำมันจากแหล่งที่ซื้อไม่ได้มาตรฐาน ต้องทำการรื้อถอน ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนหัวฉีดใหม่
- ปัญหาเกี่ยวกับระบบอากาศ
- กรองอากาศสกปรก (Air Filter) กรองอากาศอุดตันทำให้อากาศไหลเวียนไม่ดี ส่งผลต่อการเผาไหม้ อาจเกิดจากการขาดแผนบำรุงรักษา เนื่องจากการเปลี่ยนกรองอากาศอยู่ในตารางบำรุงรักษาประจำปี
- ปัญหาลิ้นปีกผีเสื้อ ลิ้นปีกผีเสื้อมีหน้าที่หมุนเปิด/ปิด บังคับควบคุมให้อากาศภายนอกเข้าไปยังห้องเครื่องยนต์สำหรับเผาไหม้สตาร์ทเครื่องยนต์ หากลิ้นปีกผีเสื้อในระบบไอดี ทำงานผิดปกติอาจส่งผลให้เครื่องสตาร์ทไม่ติด ต้องทำการรื้อถอนชิ้นส่วนเพื่อตรวจสอบ ทำความสะอาด และหากพบอุปกรณ์ชำรุดจะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่
- ปัญหาเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง
- แรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ กรณีนี้ชุดควบคุมจะไม่อนุญาตให้สตาร์ทเครื่อง ซึ่งสามารถรู้ปัญหาได้ทันทีจากชุดควบคุม อาจเกิดจากระดับน้ำมันเครื่องต่ำ หรือการใช้เกรดน้ำมันเครื่องไม่เหมาะสม การขาดการบำรุงรักษาประจำปี การไม่เปลี่ยนถ่ายหรือตรวจสอบน้ำมันเครื่อง รวมถึงการไม่เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง
- น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ระบบไม่อนุญาตให้สตาร์ท ทำให้น้ำมันเครื่องไม่สามารถทำการหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถตรวจสอบสีของน้ำมันเครื่องเพื่อดูคุณภาพได้จากก้านวัดน้ำมันเครื่อง จะต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อครบอายุหรือชั่วโมงการใช้งาน ตามเกรดของน้ำมันเครื่องที่ใช้
- ปัญหาเกี่ยวกับ Generator Controller
- การตั้งค่าผิดพลาด อาจเกิดจากผู้ให้บริการติดตั้ง หรือช่างผู้ดูแล ทำการตั้งค่าในระบบภายในชุดควบคุม (Generator Controller) ตั้งค่าไม่เหมาะสม ทำให้ชุดควบคุมไม่สั่งการสตาร์ทเครื่อง เช่น การตั้งค่าแรงดันหรือความถี่ไม่เหมาะสม
- สายสัญญาณชำรุด อาจมีสายไฟฟ้าหรือสายสัญญาณภายในที่ต่อการชุดควบคุม (Generator Controller) ชำรุด ขาดหรือหลวม ทำให้การเชื่อมต่อระหว่าง Controller และระบบเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า ไม่สมบูรณ์
- ชุดควบคุม (Generator Controller) เสียหาย ทำให้การทำงานผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถสั่งสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่เครื่องสตาร์ทไม่ติด จะสามารถตรวจสอบได้จากชุดควบคุม เพราะจะทำการรายงานผลการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้ตรวจสอบและแก้ไขได้ตรงชุด กรณีนี้ที่ชุดควบคุมเสียหายสังเกตได้จาก เมื่อเครื่องยนต์ไม่สตาร์ทแต่ชุดควบคุมไม่แสดงสถานะหรือความผิดปกติภายในระบบต่างๆ
- การสลับโหลด (ATS) ไม่ทำงาน อาจเกิดจาก Controller ไม่ส่งสัญญาณไปยัง ATS เพื่อสลับแหล่งจ่ายไฟ การตรวจจับไฟฟ้าหลัก (Mains Power) ของ Controller ล้มเหลว และไม่สามารถสลับกลับไปใช้ไฟฟ้าหลักเมื่อไฟฟ้ากลับมา ข้อสังเกตุคือเครื่องไม่สามารถสตาร์ทเพื่อไฟตกฉุกเฉินในระบบ Auto ได้ แต่สามารถสตาร์ทแบบ Manual ได้
โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ทไม่ติดส่วนใหญ่ หากเกิดจากระบบภายใน เช่นค่าแรงดันไม่เหมาะสม หรือปัญหาที่ต้องใช้เครื่องวัด จะสามารถรู้ได้จากรายงานผลของชุดควบคุม (Generator Controller) และหากเกิดจากอุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ชำรุด จะต้องทำการรื้อถอนชิ้นส่วนเพื่อทำความสะอาด และตรวจสอบสภาพภายนอกด้วยสายตา โดยช่างผู้ชำนาญการ
พบปัญหาเครื่องปั่นไฟสตาร์ทไม่ติด ต้องการหาผู้ช่วยงานวิศวกรและทีมงานช่างดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องปั่นไฟ (Generator) มากประสบการณ์ ช่วยตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเครื่อง ติดต่อทีมงาน Engineering 1986 เราพร้อมดำเนินการด้วยเครื่องมือที่มีมาตรฐาน ตรวจสอบการทำงานของชุดควบคุม (Generator Controller) พร้อมมีบริการเปลี่ยนชุดควบคุมเป็นรุ่นใหม่ที่เหมาะสมกับเครื่องปั่นไฟของลูกค้า ที่มีฟังก์ชั่นครบครัน พร้อมดำเนินการตั้งค่าอย่างถูกต้องให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
เครื่องปั่นไฟติดแล้วดับ ปัญหาสุดปวดหัวที่ส่งผลกระทบร้ายแรงในยามฉุกเฉิน
เครื่องปั่นไฟติดแล้วดับ หรือการ Breakdown เป็นปัญหาที่อันตรายอย่างยิ่งซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ปัญหาด้านเชื้อเพลิง, เครื่องยนต์, ระบบไฟฟ้า, หรือระบบควบคุม เพราะต้องทำการทดสอบรันเครื่อง หรือ Performance test เท่านั้น จึงจะพบปัญหา ซึ่งการบำรุงรักษาหลายครั้งมองข้ามการทดสอบด้านนี้ไป ทำให้เมื่อลูกค้ารับส่งมอบงานกับทางช่างผู้ดูแลแล้วนำเครื่องไปใช้งานจริง จึงพบปัญหาขึ้นมา ซึ่งปัญหาอาจเกิดได้หลายส่วนที่ในการบำรุงรักษาแบบปกติตรวจสอบไม่เจอ และตรวจสอบยากกว่าการตรวจสตาร์ทเครื่อง
- ปัญหาด้านระบบระบายความร้อน
เป็นปัญหาที่พบบ่อย หากพบเครื่องมีอาการรันเครื่องแล้วดับกลางคัน อาจเกิดจากเครื่องมีอุณหภูมิสูงจนถึงจุดอันตราย ทำให้ชุดควบคุมสั่งหยุดเครื่อง อาจเกิดได้หลายสาเหตุภายในระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เช่น
- น้ำหล่อเย็น อาจมีการพร่องของน้ำหล่อเย็นหรือน้ำหล่อเย็นเสื่อมสภาพ อาจเกิดจากการรั่วซึมของหม้อน้ำ ทำให้น้ำหล่อเย็นรั่วออกจากระบบ หรือมีอากาศและความชื้นปะปนเข้ามาสูง มีคราบสนิมสะสม น้ำหล่อเย็นจึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการระบายความร้อน ทำให้เครื่องยนต์ร้อนเกินไป
- แรงดันน้ำหล่อเย็น อาจมีปัญหาแรงดันต่ำหรือสูงเกินไป ที่ทำให้เครื่องหยุดทำงานกระทันหัน อาจเกิดจากการอุดตัน การรั่วซึม หรือมีความเสียหายในชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบหล่อเย็น เช่น ปั๊มน้ำหล่อเย็น ท่อน้ำหล่อเย็น หม้อน้ำ หรือ วาล์ว ซีล ต่างๆ
- พัดลมระบายความร้อนเสีย หากพัดลมไม่ทำงานหรือประสิทธิภาพลดลง จะส่งผลต่อการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้ โดยอาจมีอะไหล่ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องตรวจสอบเพื่อการทำงานของพัดลม เช่น สายพานพัดลม ลูกปืน เพลา
- ชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ Generator Controller เสียหรือทำงานผิดปกติ
อาจเกิดจาก ระบบป้องกัน (Protection) ใน Controller ทำงานผิดพลาด เช่น การตรวจจับแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ แรงดันไฟฟ้ามาเกินปกติ หรือ ตรวจจับความร้อนผิดพลาด ทำให้ตรวจพบความร้อนเกิน จึงตัดการทำงาน
- เซ็นเซอร์ทำงานผิดปกติ อาจพบมีข้อความหรือรหัสแจ้งข้อผิดพลาดบนหน้าจอ Controller เช่น “Low Oil Pressure” หรือ “Over Voltage” “Overheat/ High Temperature” ทั้งที่ค่าพารามิเตอร์หรือตรวจสอบจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดภายในเครื่องแล้วพบว่าค่าต่างๆอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- การตั้งค่า Function Time Relay ไม่ถูกต้อง หรือรุ่นของ Controller เป็นรุ่นเก่าที่ไม่มี Function Time Relay อาจส่งผลกระทบได้หลายอย่าง ทำให้เกิดไฟฟ้ากระชาก แรงดันเปลี่ยนกระทันหัน ทำให้ระบบไฟฟ้าไม่เสถียรมีอาการติดๆ ดับๆ บ่อยเกินความจำเป็นเมื่อแรงดดันไฟฟ้าเปลี่ยน
เครื่องปั่นไฟที่ติดแล้วดับมักเกิดจากปัญหาด้านระบบระบายความร้อนหรือระบบควบคุม ที่เกิดขึ้นเมื่อสตาร์ทเครื่องได้แล้ว เครื่องทำงานไปในระยะหนึ่ง แล้วตัดการทำงาน การแก้ไขปัญหาเริ่มจากการตรวจสอบเบื้องต้น ควรมีการทดสอบเครื่องเป็นประจำโดย ผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมและยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ทาง Engineering 1986 เราบริการบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟประจำปี โดยมีการทดสอบ Start&Run อย่างน้อย 30 นาที รวมถึงทำการทดสอบอุณหภูมิ Thermoscan ด้วยเครื่องมือที่มีมาตรฐานสูง เก็บค่าการทำงานอย่างละเอียด เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Breakdown ของลูกค้า ลดโอกาสการเกิดปัญหาสูงสุด
ปัญหาเครื่องปั่นไฟมีกำลังไฟตก ไฟฟ้าไม่เสถียร ต้องรีบแก้ไขก่อนส่งผลไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ปัญหาเครื่องปั่นไฟมีกำลังไฟตก หรือไฟไม่ออก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ การทำงานของระบบโดยรวม และความปลอดภัยในสถานที่ใช้งาน ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งในส่วนของเครื่องยนต์, Alternator, หรือระบบควบคุม (Controller) การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องมีดังนี้
- ผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
1.1 ความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- แรงดันไฟฟ้าที่ต่ำกว่ามาตรฐานทำให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ทำงานผิดปกติ
- มอเตอร์ในเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากกระแสไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยแรงดันที่ตก
1.2 การลดอายุการใช้งานของอุปกรณ์
- ไฟฟ้าที่ไม่เสถียร เช่น แรงดันไฟกระชาก (Voltage Surge) หรือไฟตก (Voltage Drop) บ่อยครั้ง จะทำให้อุปกรณ์เสียหายก่อนเวลาอันควร
- อุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบควบคุม (Controller) และคอมพิวเตอร์ อาจพังหรือทำงานผิดปกติ
1.3 การทำงานหยุดชะงักของระบบไฟฟ้า
- เซิร์ฟเวอร์, ระบบเครือข่าย, หรืออุปกรณ์ IT อื่น ๆ อาจรีเซ็ตตัวเองหรือดับไปในระหว่างที่แรงดันไฟไม่เสถียร
- ผลกระทบต่อการดำเนินงาน
2.1 ความล่าช้าในการผลิต
- ในโรงงานอุตสาหกรรม หากเครื่องจักรหยุดทำงานเนื่องจากแรงดันไฟฟ้าตก จะทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการผลิต
- ส่งผลต่อประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิต
2.2 ความเสี่ยงต่อคุณภาพสินค้า
- เครื่องจักรที่ทำงานผิดพลาดอาจผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ขนาดผิดเพี้ยน หรือเสียหาย
2.3 การสูญเสียข้อมูล
- ในระบบที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือการจัดเก็บข้อมูล หากไฟฟ้าไม่เสถียร อาจทำให้ข้อมูลสูญหายหรือเสียหาย
- ผลกระทบต่อความปลอดภัย
3.1 อันตรายต่อผู้ใช้งาน
- ไฟตกหรือไฟฟ้าไม่เสถียรอาจทำให้เครื่องจักรหยุดทำงานกะทันหัน ซึ่งเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้งาน
3.2 เพิ่มโอกาสเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
- การเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าบ่อยครั้งอาจทำให้ระบบไฟฟ้าภายในเสียหายและเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
3.3 การหยุดทำงานของระบบสำคัญ
- ระบบไฟฉุกเฉิน เช่น ระบบสัญญาณเตือนภัย, ระบบดับเพลิง หรือไฟส่องสว่างในกรณีฉุกเฉิน อาจไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม
- ผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย
4.1 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
- อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหายจากไฟตกต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
- ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอาจสูง หากปัญหากระทบต่อระบบไฟฟ้าหลัก
4.2 ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ
- ธุรกิจที่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เช่น โรงพยาบาลหรือศูนย์ข้อมูล (Data Center) อาจสูญเสียรายได้หรือเสียความน่าเชื่อถือจากปัญหาไฟฟ้า
4.3 การสิ้นเปลืองพลังงาน
- ระบบไฟฟ้าไม่เสถียรอาจทำให้เครื่องจักรทำงานหนักขึ้น ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
- ผลกระทบต่อระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
5.1 ความเสียหายต่อ Alternator
- แรงดันไฟฟ้าที่ไม่เสถียรอาจทำให้ขดลวดใน Alternator เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
- ระบบ AVR (Automatic Voltage Regulator) อาจทำงานหนักเกินไปและเสียหาย
5.2 การเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์
- เครื่องยนต์ใน Generator อาจทำงานหนักเกินไป หากระบบโหลดไม่สมดุล
วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหา
- ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจสอบ AVR, Alternator, และระบบสายไฟให้อยู่ในสภาพดี
- ใช้ Stabilizer หรือ Voltage Regulator เพื่อ ช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ตรวจสอบและปรับสมดุลโหลดไฟฟ้า ทำการ Load test โดยผู้เชี่ยวชาญ และปรับสมดุลโหลดในระบบสามเฟสให้เหมาะสม
- ติดตั้ง Surge Protector ป้องกันความเสียหายจากไฟฟ้ากระชาก
- ใช้ชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ Generator Controller ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยเพื่อให้สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบค่าและสั่งการไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้สอดคล้องกัน เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบ
- ติดตั้ง Gateway Monitoring เทคโนโลยีรายงานผลจากชุดควบคุมไปยังอุปกรณ์ Internet Device ทราบปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทีมช่างรู้ปัญหาก่อนเข้าหน้างาน ทำให้แก้ไขปัญหาหรือทำงานซ่อมได้อย่างรวดเร็ว
ปัญหาเครื่องปั่นไฟมีกำลังไฟตกหรือไฟฟ้าไม่เสถียร สามารถส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า การดำเนินงาน ความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายโดยรวม การป้องกันและแก้ไขปัญหาควรเริ่มจากการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ และการติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า
👨🏻🔧 Engineering 1986 ดำเนินงาน ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ทางเราพร้อมแนะนำ การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ถูกต้อง รวดเร็ว และชุดอะไหล่อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับระบบของลูกค้า รวมถึงมีรับประกันงานซ่อมและติดตั้งชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) ที่ได้มาตรฐาน ตั้งค่าอย่างเหมาะสม ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ภายใน ดำเนินงานโดยได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร พร้อมเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน พร้อมดูแลลูกค้าบริการ Hotline 24 ชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา
🔹ให้บริการติดตั้ง Generator Controller และ Gateway Monitoring รุ่นที่รองรับ ดูสถานะการทำงานของเครื่องแบบ Realtime รู้ปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดเครื่อง Breakdown
🔹บริการตรวจสอบและซ่อมบำรุงประจำปี Preventive Maintenance / Annual Maintenance / Performance test ตรวจสอบ อุปกรณ์ อะไหล่ทุกชิ้น รายงานปัญหาอย่างละเอียดทั้งระบบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
🔹บริการ Load test ทดสอบประสิทธิภาพและปริมาณการใช้ไฟฟ้า ภายใต้พิกัดกำลัง (Power rating) ที่เหมาะสม แนะนำการตั้งค่าการจ่าย Load เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรภายในโรงงาน ลดความเสียหายจากแรงดันไฟตกหรือไฟกระชาก
🔹บริการ Training Free ให้กับทีมงานช่างผู้ดูแลอาคาร วิธีดูแลอุปกรณ์หน้างาน ให้ลูกค้าเข้าใจปัญหาและแก้ไขได้เองเบื้องต้น อีกทั้งพร้อมรับสายซ่อมบำรุงฉุกเฉิน Hotline 24 ชั่วโมง
🔹 มี QR CODE สติ๊กเกอร์หน้าเครื่อง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากมือถือ หมดปัญหาด้านเอกสาร พร้อมทุกเมื่อสำหรับงาน Audit
👨🏻🔧 ดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เลือกใช้บริการ Engineering 1986
24 Hours Hotline ‼️
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻
👩🏻🔧ฝ่ายขาย
☎️ Tel : 02-159-9477
☎️ Tel : 065-440-4513
📧 E-mail : sales@engineering1986.com
📧 E-mail : manager@engineering1986.com
👨🏻🔧ฝ่ายวิศวกรรม
🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86
☎️ Tel : 02-159-9477
☎️ Tel : 063-072-9452