Engineering1986 > สาระความรู้ > Generator Controller และ Generator Control Panel ชิ้นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นระบบสำรองพลังงานที่มีบทบาทสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม และสถานพยาบาล โดยเฉพาะในช่วงไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าขัดข้อง ระบบนี้ไม่เพียงแค่ผลิตพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังต้องมีการควบคุมและจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดจากการทำงานของ Generator Controller ที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลายส่วนภายใน Generator Control Panel ที่ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและตรวจสอบระบบการทำงานต่างๆ ภายใต้การทำงานโดยรวมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

Generator Controller คืออะไร

Generator Controller หรือมีชื่อภาษาไทยว่า ชุดควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็น อุปกรณ์ควบคุมสมองกลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นับเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนมันสมองของระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตั้งแต่การสตาร์ทเครื่อง การตรวจสอบค่าต่าง ๆ ไปจนถึงการป้องกันความเสียหาย

หน้าที่หลักของ Generator Controller

  1. ควบคุมการสตาร์ทและหยุดเครื่องยนต์

Controller จะสั่งงานให้เครื่องยนต์เริ่มต้นทำงานอัตโนมัติเมื่อมีความต้องการพลังงาน หรือหยุดทำงานเมื่อไม่มีโหลดผ่าน โดยการควบคุมและสั่งการนี้มีการเชื่อมต่อกับ ระบบ ATS (Automatic Transfer Switch) และ ระบบแบตเตอรี่ (Battery) ซึ่งมีหลักในการทำงานดังนี้

ระบบ ATS (Automatic Transfer Switch)
ชุดควบคุมจะต่อเชื่อมกับระบบ ATS ซึ่งทำหน้าที่สลับการจ่ายไฟระหว่างแหล่งไฟฟ้าหลักจากการไฟฟ้า หรือไฟฟ้าต้นทาง กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินโดยอัตโนมัติ เมื่อไฟฟ้าหลักดับ และสลับมายังไฟฟ้าหลักเมื่อระบบกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ระบบแบตเตอรี่ (Battery)
ชุดควบคุมต่อกับแบตเตอรี่ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สั่งการให้ระบบแบตเตอรี่ส่งประจุไปยังมอเตอร์สตาร์ท ซึ่งใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ นอกจากนี้ ยังควบคุมและตรวจสอบสถานะการชาร์จแบตเตอรี่ของแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์ (Battery Charger ) เพื่อสั่งการควบคุมแรงดันให้เหมาะสม เพื่อให้แบตเตอรี่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอและยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้อย่างนี้

  1. ควบคุมและแสดงผลระหว่างเครื่องทำงาน

ชุดควบคุมมีการตรวจสอบและแสดงผลค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญทั้งระบบการทำงานของ Generator ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ปั่นไฟ (Dynamo) หรือ Alternator และในส่วนของเครื่องยนต์ (Engine) เพื่อควบคุม แรงดันไฟฟ้า (Voltage), ความถี่ (Frequency), และกระแสไฟฟ้า (Current) ที่จะผลิตไปยังโหลด โดยหลักในการทำงานจะมีการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ให้ทุกระบบทำงานสอดคล้องกัน

ระบบเซ็นเซอร์ (Sensors)

ชุดควบคุมมีการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น เซ็นเซอร์วัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิของเครื่องยนต์ และแรงดันน้ำมันหล่อลื่น เซ็นเซอร์เหล่านี้จะส่งข้อมูลไปยังชุดควบคุมเพื่อใช้ในการปรับและตรวจสอบการทำงาน

ระบบเครื่องยนต์ (Engine)

ชุดควบคุมเชื่อมต่อกับเครื่องยนต์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งส่งผลต่อความถี่และแรงดันไฟฟ้าที่ผลิต นอกจากนี้ยังตรวจสอบสถานะต่างๆ เช่น ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง อุณหภูมิของเครื่องยนต์ และแรงดันน้ำมันหล่อลื่น

ระบบรายงานผลทางไกล (Gateway Monitoring)

ชุดควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า DSE 7320 MKII ที่ Engineering 1986 แนะนำติดตั้งให้กับ Generator ของลูกค้า สามารถติดตั้งบริการเสริมเป็นระบบ Gateway Monitoring ที่รายงานผลการทำงานผ่านระบบ Internet ได้แบบ Realtime ทำได้ผู้ดูแลระบบทราบสถานะการทำงานและวิเคราะห์ปัญหาได้โดยไม่ต้องเข้าสำรวจที่หน้าตู้คอนโทรล

 

  1. ป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์

ชุดควบคุมจะทำหน้าที่ป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่ำ เมื่อเกิดเหตุผิดปกติ เช่น การปิดเครื่องเมื่อเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าสูง/ต่ำ, ความร้อนเกิน หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่วที่อาจก่อให้เกิดอันตราย สั่งการผ่านการเชื่อมต่อกับเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) และฟิวส์ (Fuse) ให้หยุดการทำงานเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและโอเวอร์โหลด

จะเห็นได้ว่า Generator Controller หรือชุดควบคุมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่หากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน หรือการตั้งค่าผิดพลาด อาจส่งผลร้ายแรงได้หลายอย่างและรายงานปัญหาได้อย่างไม่ถูกต้อง และหากไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณในการเปลี่ยนอุปกรณ์และตรวจสอบที่บานปลาย ทาง Engineering 1986 เราเป็นทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงติดตั้งชุดควบคุมอย่างถูกต้อง ให้การแสดงผลและการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Generator Controller และ Generator Control Panel คือชิ้นส่วนเดียวกันหรือไม่

Generator Controller และ Generator Control Panel ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด โดยทั้งสองมีหน้าที่ในระบบควบคุมและจัดการการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) แต่อยู่ในรูปแบบและขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกัน โดยจำแนกได้อย่างชัดเจนดังนี้

Generator Controller คือ ชุดควบคุมเปรียบเสมือนหัวสมองของระบบการทำงาน เป็นอุปกรณ์สั่งการที่ถูกติดตั้งอยู่ใน Generator Control Panel คือ ตู้ควบคุม หรือ ตู้GCP เปรียบเสมือบร่างกาย ที่ห่อหุ้มอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบสั่งการต่างๆ ที่อยู่ภายในตู้ควบคุม

ความแตกต่างระหว่าง Generator Controller และ Generator Control Panel

ลักษณะ Generator Controller Generator Control Panel
หน้าที่ ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ศูนย์รวมการควบคุมและ ติดตั้ง Controller และอุปกรณที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตการใช้งาน ตรวจสอบและสั่งการการทำงานของเครื่อง รวมอุปกรณ์ Controller และส่วนเสริมต่างๆ
ส่วนประกอบ เป็นอุปกรณ์เดี่ยว รวม Controller, Braker, Fuse, etc.
การติดตั้ง ติดตั้งใน Control Panel ติดตั้งในห้องควบคุม โยงกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 

วงจรภายในตู้คอนโทรลเครื่องปั่นไฟ หรือ Generator Control Panel มีอะไรบ้าง

Generator Control Panel เป็นตู้ควบคุมที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดการ ควบคุม และป้องกันการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ใน Generator Control Panel ครอบคลุมตั้งแต่อุปกรณ์ควบคุมพื้นฐาน อุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์แสดงผล ไปจนถึงอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อและควบคุมระยะไกล โดยการเลือกใช้งานและติดตั้งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบไฟฟ้าและความซับซ้อนของการใช้งาน

Generator Control Panel มีหน้าที่ในการจัดสรรความเรียบร้อยให้สะดวกต่อการใช้งาน และปกป้องอุปกรณ์ภายในจากสภาพแวดล้อม รวมถึงสายไฟ Wiring ต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการเชื่อมต่อไปยัง Generator Controller จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะดูดูแลตู้ควบคุมให้มีสภาพพร้อมใช้ สามารถเปิดปิดได้ และไม่มีอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย เพราะมีส่วนประกอบในที่สำคัญมากมาย รวมถึงยังมีราคาสูงอีกด้วย ซึ่งภายใน Generator Control Panel มีอุปกรณ์หลักๆ ดังนี้

  • Generator Controller อุปกรณ์หลักที่ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • Circuit Breaker และ Fuse อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
  • Surge Protector อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า
  • อุปกรณ์วัดค่าการทำงานของระบบ เช่น Volt Meter, Amp Meter, และ Frequency Meter
  • Battery Charger อุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่
  • ปุ่มควบคุมและ Emergency Stop: ใช้สำหรับการสั่งงานและหยุดฉุกเฉิน

Control Panel หรือตู้คอนโทรล แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่กล่องที่ไว้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน แต่ก็มีความสำคัญ ที่จะต้องออกแบบมาให้สอดคล้องกับการทำงานของทีมช่างและวิศวกร ต้องมีความสามารถในการปกป้องอุปกรณ์ภายใน ความสะดวกในการใช้งานของตำแหน่งติดตั้ง ต้องสามารถเปิดใช้และทำการบำรุงรักษาได้ง่าย

ปัญหาที่พบบ่อย หากระบบ Controller และการต่อสายวงจรหรือ Wiring ภายใน Generator มีปัญหา

  1. Generator หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ทไม่ติด

อาจเกิดจากสัญญาณสตาร์ทจาก Controller ไม่ถูกส่งไปยังเครื่องยนต์ เพราะการตรวจสอบค่าต่างๆภายในระบบผิดพลาด เช่น แรงดันไฟฟ้า แรงดันแบตเตอรี่ หรือแรงดันน้ำมันเครื่อง ผิดพลาด ทำให้ระบบไม่อนุญาตให้สตาร์ท

  • จุดสังเกตอาการ คือเครื่องสตาร์ทไม่ติด แต่ไม่มีหน้าจอแสดงผล Error มาที่ Controller
  1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหยุดทำงานระหว่างใช้งาน

อาจเกิดจาก ระบบป้องกัน (Protection) ใน Controller แจ้งเตือนหรือเซนเซอร์ผิดพลาด เช่น การตรวจจับแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ แรงดันไฟฟ้ามาเกินปกติ หรือ ตรวจจับความร้อนผิดพลาด ทำให้ตรวจพบความร้อนเกิน จึงตัดการทำงาน

  • จุดสังเกตอาการ คือ อาจพบมีข้อความหรือรหัสแจ้งข้อผิดพลาดบนหน้าจอ Controller เช่น “Low Oil Pressure” หรือ “Over Voltage” “Overheat/ High Temperature” ทั้งที่ค่าพารามิเตอร์หรือตรวจสอบจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดภายในเครื่องแล้วพบว่าค่าต่างๆอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  1. การแสดงผลผิดพลาด

อาจเกิดจากเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับ Controller ส่งข้อมูลผิดพลาด อาจพบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟ หรืออุณหภูมิ แสดงผลไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง

  • จุดสังเกตอาการ คือ แสดงผลไม่ตรงกับเครื่องตรวจวัดภายนอก เช่นการตรวจโดย Thermoscan / Volt Meter / Power Logger Analysis โดยต้องทำการตรวจสอบโดยเครื่องมือที่มีการสอบเทียบวัดตามมาตรฐาน หรือจัดจ้างวิศวกรมืออาชีพของ Engineering 1986 เข้าตรวจสอบ
  1. การสลับโหลด (ATS) ไม่ทำงาน

อาจเกิดจาก Controller ไม่ส่งสัญญาณไปยัง ATS เพื่อสลับแหล่งจ่ายไฟ การตรวจจับไฟฟ้าหลัก (Mains Power) ของ Controller ล้มเหลว และไม่สามารถสลับกลับไปใช้ไฟฟ้าหลักเมื่อไฟฟ้ากลับมา

  • จุดสังเกตอาการ คือ สามารถสตาร์ทเครื่องได้ในระบบ Manual แต่ไม่มีการตอบสนองเมื่ออยู่ในระบบ Auto และไม่สลับแหล่งจ่ายใฟในระบบ Auto เมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ปกติ
  1. การสตาร์ทเครื่องช้า สตาร์ทไม่ติด หรือสตาร์ทแล้ว ติดๆ ดับๆ ในระบบ Auto

อาจเกิดจาก Controller ไม่มีการตั้งค่า Function Time Relay หรือรุ่นของ Controller เป็นรุ่นเก่า อาจส่งผลกระทบได้หลายอย่าง ก่อให้เกิดปัญหาลุกลามไปยังชิ้นส่วนและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เพราะเกิดไฟฟ้ากระชาก แรงดันเปลี่ยนกระทันหัน

  • จุดสังเกตอาการ คือ ระบบไฟฟ้าในโหมด Auto ไม่เสถียรมีอาการติดๆ ดับๆ บ่อยเกินความจำเป็นเมื่อแรงดดันไฟฟ้าเปลี่ยน

หาก Generator Controller ยังเป็นรุ่นเก่า ไม่มีฟังก์ชั่นที่ทันสมัยอย่าง Time Relay อาจส่งผลกระทบได้หลายอย่าง การติดตั้ง Generator Controller ที่มีประสิทธิภาพโดยวิศวกรมืออาชีพ จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่มีปัญหาในระยะยาว โดยวิศวกรมืออาชีพของ Engineering 1986 สามารถแนะนำรุ่นที่คุ้มค่าและทันสมัยและทำการติดตั้งให้กับ Generator Controller ได้อย่างถูกต้อง พร้อมรับประกันงาน 1 ปี และพร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อเครื่องมีปัญหาฉุกเฉิน

Generator Controller ที่ทันสมัย ช่วยสนับสนุนหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างไร

ชุด Generator Controller มีหลากหลายยี่ห้อและหลายประเภท แต่ละรุ่นมีเทคโนโลยีและคุณสมบัติ รวมถึงราคาที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เลือกซื้อและติดตั้งได้อย่างเหมาะสมตามความเหมาะสมของลักษณะการใช้งาน ควรเลือกบริการติดตั้งผ่านทีมงานวิศวกรมืออาชีพ Engineering 1986 ตัวแทนนำเข้าและติดตั้ง Controller มากประสบการณ์ พร้อมบริการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารับประกันและดูแลลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงภายในอายุสัญญา

โดยทั่วไปแล้วก่อนการติดตั้ง Controller เราจะต้องทำความรู้จักประเภทของชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) เสียก่อน โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ

  1. Stand Alone Gen-Set Controller

เป็นชุดควบคุมสำหรับใช้ควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพียงตัวเดียว โดยไม่มีระบบตรวจสอบแรงดันหรือความถี่ของฝั่งหม้อแปลงไฟฟ้า เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าขนาดเล็กหรือที่ไม่ต้องการการเชื่อมต่อกับไฟฟ้าหลัก

ตัวอย่างแบรนด์และรุ่นที่นิยม เช่น Deep Sea Electronics (DSE7320 MKII สามารถตั้งค่าสำหรับเครื่อง Stand Alone ได้), Smartgen HGM1700

  1. Automatic Main Failure (AMF) Genset Controller

เป็นชุดควบคุมสำหรับใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและตรวจสอบแรงดัน ความถี่ ทั้งฝั่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า รองรับการควบคุม ATS เพื่อสลับแหล่งจ่ายไฟระหว่างไฟฟ้าหลักและไฟฟ้าสำรอง เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าที่ต้องการความต่อเนื่อง เช่น อาคารสำนักงานหรือโรงงานขนาดใหญ่ โรงพยาบาล โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องเฝ้าระวังระบบไฟฟ้าขัดข้องเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงของผู้อยู่อาศัยได้หากไฟฟ้าขัดข้องในกรณีฉุกเฉิน

ตัวอย่างแบรนด์และรุ่นที่นิยม เช่น Deep Sea Electronics (DSE7320 MKII) , ComAp InteliLite NT AMF 25 , Smartgen HGM6120N

  1. Paralleling Controller
  • เป็นชุดควบคุมแบบขนาน สำหรับ Synchronize เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายตัวเข้าด้วยกัน หรือต่อแบบขนานกับหม้อแปลงไฟฟ้า สามารถตรวจสอบแรงดัน ความถี่ และ Phase Shift เพื่อให้การขนานไฟเป็นไปอย่างเสถียรเมื่อมีระบบไฟฟ้าหลายระบบทำงานร่วมกัน เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจ่ายพลังงาน ระบบไฟฟ้าที่ใช้โหลดสูงและต้องการความต่อเนื่อง

ตัวอย่างแบรนด์และรุ่นที่นิยม เช่น Deep Sea Electronics (DSE8610 MKII) , ComAp InteliGen NT , Smartgen HGM9510

ดูเพิ่มเติมประเภทของชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) : https://www.engineering1986.com/generator-controller.html

หาก Controller มีปัญหา อาจทำให้เครื่อง

👨🏻‍🔧  Engineering 1986 รับติดตั้งชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทางเราพร้อมแนะนำรุ่น Controller ที่เหมาะสมกับระบบของลูกค้า รวมถึงมีรับประกันงานซ่อมและติดตั้ง ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร พร้อมเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน พร้อมดูแลลูกค้าบริการ Hotline 24 ชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา

🔹บริการ ติดตั้ง Generator Controller และ Gateway Monitoring เพื่อดูสถานะการทำงานของเครื่องได้แบบ Realtime ผ่านอินเทอร์เน็ต รู้ปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

🔹บริการถอดชุดควบคุมเดิมออกและติดตั้งชุดควบคุมใหม่อย่างมืออาชีพ พร้อมเชื่อมต่อสายไฟและสายสัญญาณ Generator Controller

🔹บริการติดตั้งระบบ Monitoring Gateway สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อแสดงผลและควบคุมระยะไกล เพื่อให้เตรียมงานซ่อมเครื่องได้โดยไม่ต้องเข้าไปสำรวจหน้างาน

🔹มีการตรวจสอบระบบหลังติดตั้ง พร้อม Preventive Maintenance / Performance test ตรวจสอบทั้งระบบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

🔹บริการ Load test ทดสอบประสิทธิภาพและปริมาณการใช้ไฟฟ้า ภายใต้พิกัดกำลัง (Power rating) ที่เหมาะสม

🔹พร้อม Training ให้กับทีมงานช่างผู้ดูแลอาคาร ดูแลอุปกรณ์หน้างาน ให้เข้าใจปัญหาและแก้ไขได้เองเบื้องต้น รวมถึงนัดประชุมกับลูกค้าหลังทำงานเสร็จเพื่อรายงานผลการดำเนินการทั้งหมด

🔹 มีระบบ QR CODE โปรแกรมแจ้งแผนงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากหน้าเครื่อง หมดปัญหาด้านการเก็บเอกสาร หรือเอกสารเสื่อมสภาพ

👨🏻‍🔧 เตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาด้วยชุดควบคุมที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การใช้งานอย่างครบครัน เลือกใช้บริการ Engineering 1986

24 Hours Hotline ‼️

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452