Engineering1986 > สาระความรู้ > Gateway Monitoring ตัวช่วยวางแผนงานซ่อม Generator ผ่านระบบออนไลน์ทุกที่ทุกเวลา

Gateway Monitoring ช่วยวางแผนงานซ่อม Generator ได้อย่างไร ?

ในยุคที่การทำงานจากระยะไกลกลายเป็นเรื่องปกติ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet of Things (IoT) กำลังเป็นสิ่งสำคัญในหลากหลายอุตสาหกรรม เพราะเป็นตัวช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ลดระยะเวลาในการทำงาน รวมถึงลดกำลังพลและลดต้นทุนในธุรกิจได้อย่างมาก ในระบบการดูแลอาคารและสถานที่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

แม้ว่าธุรกิจของเราจะมีกล้องวงจรปิดที่ช่วยรักษาความปลอดภัย  เพิ่มความอุ่นใจในการบริหารธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าขัดข้อง ระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารทั้งหลาย และกิจกรรมทางธุรกิจยังสามารถเดินหน้าต่อได้ หากเราขาดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เราติดตั้งนั้นพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ?

Engineering 1986 เราเป็นผู้ดูแล ให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเชิงป้องกัน (Preventive maintenance Generator) มามากกว่า 10 ปี เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ และการซ่อมบำรุงรายปีตามที่กฎหมายกำหนดอาจไม่เพียงพอต่อการเตรียมพร้อมรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของธุรกิจที่ต่อเนื่องได้ ทางหนึ่งในอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์ รองรับการทำงานในยุคดิจิตอล เพิ่มระบบเชื่อมต่อกับเครื่องควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) ด้วยอุปกรณ์อย่าง IoT Gateway Monitoring ที่ช่วยตรวจและรายงานสถานะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และแสดงค่าสมรรถนะการทำงานของเครื่อง ต่างๆ ขณะที่เครื่องทำงาน โดยไม่ต้องไปตรวจสอบถึงหน้าเครื่อง เพราะมีระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผ่านระบบ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ผ่าน Application บน Smart phone และ Internet Browser ได้แบบ Realtime  จะเป็นตัวช่วยในวางแผนงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้พร้อมใช้ได้ทุกเวลาด้วยความสามารถที่ช่วยอำนวยความสะดวก

Remote Monitoring วางแผนทำงานได้จากระยะไกล ฟังก์ชั่นรอบด้านที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน

  • Remote Control ควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้จากระยะไกล สามารถควบคุมการเปิดปิดของเครื่องแบบ Manual ได้ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ลดต้นทุนในการดำเนินการ และความเสี่ยงของธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น
  • Real-Time Monitoring เชื่อมต่อระบบควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเรียวไทม์ ระบบของ Gateway Monitoring ทำให้ชุดควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อรายงานผลและตรวจผลการทำงานของ Generator ได้ด้วยการใช้ LAN Internet (Ethernet) หรือ ระบบ SIM Card (GSM 3G/4G/5G) ช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุน และวางแผนการทำงานของทีมช่างได้ล่วงหน้า ทราบปัญหาการทำงานของเครื่องโดยไม่ต้องเดินทางหรือเตรียมเครื่องมือสำหรับการตรวจเช็คได้ๆ
  • Event Triggers Reporting ระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อเครื่องมีปัญหา เมื่อเครื่องมีสภาวะที่ไม่ปกติ เช่น อุณหภูมิสูงเกินไป การทำงานที่ผิดปกติ หรือแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม จะได้รับการแจ้งเตือนนี้ผ่านแอพพลิเคชั่น Email หรือ SMS ไปยังทีมบำรุงรักษาได้ทันที
  • User Configurable Access รองรับการกำหนดสิทธิในการเข้าควบคุมเครื่อง : สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ ความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือผู้มีอำนาจความรับผิดชอบไม่เพียงพอ อาจนำมาสู่ปัญหาใหญ่ ระบบนี้สามารถกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและควบคุมเครื่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
  • Multiple Access รองรับการควบคุมหลายเครื่องพร้อมกัน: สำหรับสถานประกอบการหรือโรงงานที่มีการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายตัว Monitoring Gateway สามารถควบคุมและตรวจสอบสถานะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้หลายเครื่องพร้อมกันผ่านระบบเดียว ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในการจัดการ
  • Maps Feature แผนที่ของเครื่องที่กำหนด เมื่อมีเครื่องที่ติดตั้งและดูแลหลายเครื่อง การสื่อสารภายในทีมอาจคลาดเคลื่อน จนนำไปสู่การเดินทางผิดสถานที่และเสียทรัพยากรในการบริหารจัดการได้โดยง่าย ระบบแผนที่จะช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

 

ข้อดีของการเชื่อมต่อ Monitoring Gateway กับ Generator Controller ในการช่วยวางแผนงานซ่อมบำรุง Generator

เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญแบบเรียลไทม์ การคาดการณ์ปัญหาและการจัดการซ่อมบำรุงจึงทำได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น การติดตามข้อมูลการทำงานอย่างต่อเนื่องจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอให้เกิดความขัดข้องก่อน

  1. ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการซ่อมบำรุงฉุกเฉิน : เมื่อสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำงานได้ตลอดเวลา ผู้ใช้งานจะรู้ล่วงหน้าว่าเมื่อไหร่ที่เครื่องจำเป็นต้องได้รับการซ่อมบำรุง ทำให้สามารถวางแผนการซ่อมล่วงหน้าได้ ซึ่งช่วยลดโอกาสที่เครื่องหยุดทำงานแบบฉุกเฉิน และต้องเสียค่าซ่อมฉุกเฉินที่มีราคาแพงกว่าค่าซ่อมบำรุงทั่วไป
  2. ประหยัดทรัพยากร ลดต้นทุนธุรกิจ: การวางแผนงานซ่อมบำรุงที่ดีจะช่วยลดการใช้งานทรัพยากรที่ไม่จำเป็น เช่น การลดทีมงานช่างที่ต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่หรือตรวจสอบหน้าเครื่องเป็นประจำ นำมาสู่การลดต้นทุนของธุรกิจ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติตาม KPIs ได้ง่ายขึ้น
  3. ยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า: ด้วยเทคโนโลยี Gateway Monitoring จะช่วยแจ้งเตือนแผนการซ่อมบำรุง รวมถึงรายงานผลทันทีเมื่อเครื่องมีปัญหา ทำให้การวางแผนซ่อมบำรุง การเปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่มีปัญหาดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ทำให้ลดผลกระทบที่ทำให้ชิ้นส่วนอื่นๆ เสียหายมากขึ้น จนทำให้เครื่องขัดของหรือใช้งานไม่ได้
  4. เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน: การทราบปัญหาล่วงหน้า ทำให้สามารถจัดเตรียมเครื่องมือและเตรียมการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาจากการเดินทางและการขนย้ายอุปกรณ์หลายครั้ง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานและกระบวนการซ่อมแซมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีปัญหา

Gateway Monitoring มีหลักการทำงานร่วมกับ Generator Controller อย่างไร ?

ชุดควบคุมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) เปรียบเสมืองสมองสั่งการและควบคุมค่าต่างๆ ในระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ภายใต้ระบบการทำงานนี้จะมีการส่งสัญญาณไปมาเชื่อมต่อกันทั้งหมดภายในระบบ เมื่อ Gateway Monitoring ทำงานร่วมกับชุดควบคุม จะเปรียบเสมือนการที่ช่างหรือทีมวิศวะนำเครื่องมือมาเชื่อมต่อกับชุดควบคุมเพื่อวัดผลตรวจเช็คค่าการทำงานต่างๆ ของ Generator ที่หน้าเครื่อง

 

โดยข้อมูลที่แสดงในขณะเครื่องทำงานจะประกอบด้วย

  1. สถานะการทำงาน : แสดงสถานะเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น กำลังทำงาน, หยุด, หรืออยู่ในโหมด Standby
  2. แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟ : ข้อมูลแรงดันไฟฟ้า (Voltage) และกระแสไฟ (Current) ที่จ่ายออกจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  3. อุณหภูมิ : แสดงอุณหภูมิของเครื่องยนต์และระบบต่างๆ
  4. ระดับเชื้อเพลิง : ระดับน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ
  5. ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (RPM) : เพื่อวัดการทำงานของเครื่องยนต์

ระหว่างที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) อยู่ในสถานะ Standby เราสามารถตรวจสอบข้อมูลสำคัญจากชุดควบคุม และถูกส่งมาทาง Gateway Monitoring ได้หลายอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องพร้อมใช้งานเมื่อจำเป็น ข้อมูลที่สามารถดูได้ประกอบด้วย

  1. สถานะ ATS (Automatic Transfer Switch): ตรวจสอบความพร้อมของระบบสับเปลี่ยนกระแสไฟ เพื่อให้มั่นใจว่าสัญญาณสตาร์ทเครื่องอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าขัดข้องทำงานได้ตามปกติ หากอุปกรณ์ส่วนนี้เสียหาย จะทำให้การทำงานของเครื่องไม่สามารถเริ่มทำงานตามอัตโนมัติ
  2. สถานะแบตเตอรี่: ระดับแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ที่ใช้ในการสตาร์ท เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะ เมื่อแบตเตอรี่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเช่น มีความร้อน ความชื้นมากเกินไป หรือมีอายุการใช้งานนาน ทำให้สมรรถภาพลดลง จนอาจไม่สามารถสตาร์ทเครื่องได้ยามฉุกเฉิน
  3. สถานะเครื่องยนต์: ข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อมของเครื่องยนต์ เช่น อุณหภูมิและระดับน้ำมัน ทำให้ทราบได้ว่าหากมีการลดลงของระดับน้ำมันในขณะที่เครื่องไม่ได้ใช้งาน อาจมีการรั่วซึมของอุปกรณ์เกิดขึ้นได้
  4. การบำรุงรักษา: แจ้งเตือนการบำรุงรักษาตามรอบ เพื่อทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ได้ตามกำหนด ก่อนใบรับรองการตรวจเช็คจะหมดอายุ

ต้องการติดตั้ง Gateway Monitoring ต้องทำอย่างไร ?

เพื่อให้มั่นใจว่าทุกครั้งที่มีการตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ อย่าง Engineering 1986 ผู้ให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถการติดตั้งอุปกรณ์ Gateway Monitoring เข้ากับเครื่องชุดควบคุมของกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน ควรเลือกติดตั้งกับผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ ได้รับการฝึกอบรมจากผู้ผลิต รวมถึงมีความรู้ในการปฏิบัติขั้นตอนการติดตั้งและใช้งานตามคู่มือผลิตภัณฑ์ Gateway Setup Manual ได้อย่างถูกต้อง

Gateway Monitoring
IoT Gateway – 4G (GSM/Ethernet)
OVERALL SIZE :
85 mm x 149 mm x 51 mm
WEIGHT : 0.23kg

ทีมงานมืออาชีพของ Engineering 1986 สามารถกำหนดค่าและติดตั้ง Gateway Monitoring กับชุด Controller ที่รองรับได้ทุกรุ่น รวมถึงฝึกอบรมและสอนการใช้งานให้กับบุคลากรในองค์กรของลูกได้อย่างครบวงจร หากลูกค้ามีรุ่นของ Controller ที่ใช้งาน สามารถติดต่อทีมงานเพื่อขอคำแนะนำได้ทันที

👨🏻‍🔧  ต้องการผู้ช่วยวิศวกรตรวจสอบดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าอาคาร ติดต่อ Engineering 1986 ตรวจสอบ Generator ตามมาตรฐาน  ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร พร้อมเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน

🔹บริการ ติดตั้ง Generator Controller และ Gateway Monitoring เพื่อดูสถานะการทำงานของเครื่องได้แบบ Realtime ผ่านอินเทอร์เน็ต รู้ปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

🔸 บริการงานซ่อมบำรุงเชิงบำรุงรักษา PM Generator ต่อครั้ง/รายปี พร้อมวิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียด

🔹 นัดประชุมกับลูกค้าหลังทำงานเสร็จเพื่อรายงานผลการดำเนินการทั้งหมด

🔹 มี QR CODE โปรแกรมแจ้งแผนงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากหน้าเครื่อง ไม่ต้องวุ่นวายหาเอกสาร

👨🏻‍🔧 ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร เตรียมเครื่องยนต์ของคุณให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เลือกใช้บริการ Engineering 1986

24 Hours Hotline ‼️

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452