Engineering1986 > สาระความรู้ > Generator Controller และ Generator Control Panel ชิ้นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นระบบสำรองพลังงานที่มีบทบาทสำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม และสถานพยาบาล โดยเฉพาะในช่วงไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าขัดข้อง ระบบนี้ไม่เพียงแค่ผลิตพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังต้องมีการควบคุมและจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดจากการทำงานของ Generator Controller ที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลายส่วนภายใน Generator Control Panel ที่ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและตรวจสอบระบบการทำงานต่างๆ ภายใต้การทำงานโดยรวมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
Generator Controller คืออะไร
Generator Controller หรือมีชื่อภาษาไทยว่า ชุดควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็น อุปกรณ์ควบคุมสมองกลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นับเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนมันสมองของระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตั้งแต่การสตาร์ทเครื่อง การตรวจสอบค่าต่าง ๆ ไปจนถึงการป้องกันความเสียหาย
หน้าที่หลักของ Generator Controller
- ควบคุมการสตาร์ทและหยุดเครื่องยนต์
Controller จะสั่งงานให้เครื่องยนต์เริ่มต้นทำงานอัตโนมัติเมื่อมีความต้องการพลังงาน หรือหยุดทำงานเมื่อไม่มีโหลดผ่าน โดยการควบคุมและสั่งการนี้มีการเชื่อมต่อกับ ระบบ ATS (Automatic Transfer Switch) และ ระบบแบตเตอรี่ (Battery) ซึ่งมีหลักในการทำงานดังนี้
ระบบ ATS (Automatic Transfer Switch)
ชุดควบคุมจะต่อเชื่อมกับระบบ ATS ซึ่งทำหน้าที่สลับการจ่ายไฟระหว่างแหล่งไฟฟ้าหลักจากการไฟฟ้า หรือไฟฟ้าต้นทาง กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินโดยอัตโนมัติ เมื่อไฟฟ้าหลักดับ และสลับมายังไฟฟ้าหลักเมื่อระบบกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
ระบบแบตเตอรี่ (Battery)
ชุดควบคุมต่อกับแบตเตอรี่ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สั่งการให้ระบบแบตเตอรี่ส่งประจุไปยังมอเตอร์สตาร์ท ซึ่งใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ นอกจากนี้ ยังควบคุมและตรวจสอบสถานะการชาร์จแบตเตอรี่ของแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์ (Battery Charger ) เพื่อสั่งการควบคุมแรงดันให้เหมาะสม เพื่อให้แบตเตอรี่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอและยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้อย่างนี้
- ควบคุมและแสดงผลระหว่างเครื่องทำงาน
ชุดควบคุมมีการตรวจสอบและแสดงผลค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญทั้งระบบการทำงานของ Generator ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ปั่นไฟ (Dynamo) หรือ Alternator และในส่วนของเครื่องยนต์ (Engine) เพื่อควบคุม แรงดันไฟฟ้า (Voltage), ความถี่ (Frequency), และกระแสไฟฟ้า (Current) ที่จะผลิตไปยังโหลด โดยหลักในการทำงานจะมีการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ให้ทุกระบบทำงานสอดคล้องกัน
ระบบเซ็นเซอร์ (Sensors)
ชุดควบคุมมีการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น เซ็นเซอร์วัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิของเครื่องยนต์ และแรงดันน้ำมันหล่อลื่น เซ็นเซอร์เหล่านี้จะส่งข้อมูลไปยังชุดควบคุมเพื่อใช้ในการปรับและตรวจสอบการทำงาน
ระบบเครื่องยนต์ (Engine)
ชุดควบคุมเชื่อมต่อกับเครื่องยนต์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งส่งผลต่อความถี่และแรงดันไฟฟ้าที่ผลิต นอกจากนี้ยังตรวจสอบสถานะต่างๆ เช่น ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง อุณหภูมิของเครื่องยนต์ และแรงดันน้ำมันหล่อลื่น
ระบบรายงานผลทางไกล (Gateway Monitoring)
ชุดควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า DSE 7320 MKII ที่ Engineering 1986 แนะนำติดตั้งให้กับ Generator ของลูกค้า สามารถติดตั้งบริการเสริมเป็นระบบ Gateway Monitoring ที่รายงานผลการทำงานผ่านระบบ Internet ได้แบบ Realtime ทำได้ผู้ดูแลระบบทราบสถานะการทำงานและวิเคราะห์ปัญหาได้โดยไม่ต้องเข้าสำรวจที่หน้าตู้คอนโทรล
- ป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์
ชุดควบคุมจะทำหน้าที่ป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่ำ เมื่อเกิดเหตุผิดปกติ เช่น การปิดเครื่องเมื่อเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าสูง/ต่ำ, ความร้อนเกิน หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่วที่อาจก่อให้เกิดอันตราย สั่งการผ่านการเชื่อมต่อกับเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) และฟิวส์ (Fuse) ให้หยุดการทำงานเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและโอเวอร์โหลด
จะเห็นได้ว่า Generator Controller หรือชุดควบคุมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่หากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน หรือการตั้งค่าผิดพลาด อาจส่งผลร้ายแรงได้หลายอย่างและรายงานปัญหาได้อย่างไม่ถูกต้อง และหากไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณในการเปลี่ยนอุปกรณ์และตรวจสอบที่บานปลาย ทาง Engineering 1986 เราเป็นทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงติดตั้งชุดควบคุมอย่างถูกต้อง ให้การแสดงผลและการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Generator Controller และ Generator Control Panel คือชิ้นส่วนเดียวกันหรือไม่
Generator Controller และ Generator Control Panel ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด โดยทั้งสองมีหน้าที่ในระบบควบคุมและจัดการการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) แต่อยู่ในรูปแบบและขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกัน โดยจำแนกได้อย่างชัดเจนดังนี้
Generator Controller คือ ชุดควบคุมเปรียบเสมือนหัวสมองของระบบการทำงาน เป็นอุปกรณ์สั่งการที่ถูกติดตั้งอยู่ใน Generator Control Panel คือ ตู้ควบคุม หรือ ตู้GCP เปรียบเสมือบร่างกาย ที่ห่อหุ้มอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบสั่งการต่างๆ ที่อยู่ภายในตู้ควบคุม
ความแตกต่างระหว่าง Generator Controller และ Generator Control Panel
ลักษณะ | Generator Controller | Generator Control Panel |
หน้าที่ | ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า | ศูนย์รวมการควบคุมและ ติดตั้ง Controller และอุปกรณที่เกี่ยวข้อง |
ขอบเขตการใช้งาน | ตรวจสอบและสั่งการการทำงานของเครื่อง | รวมอุปกรณ์ Controller และส่วนเสริมต่างๆ |
ส่วนประกอบ | เป็นอุปกรณ์เดี่ยว | รวม Controller, Braker, Fuse, etc. |
การติดตั้ง | ติดตั้งใน Control Panel | ติดตั้งในห้องควบคุม โยงกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า |
วงจรภายในตู้คอนโทรลเครื่องปั่นไฟ หรือ Generator Control Panel มีอะไรบ้าง
Generator Control Panel เป็นตู้ควบคุมที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดการ ควบคุม และป้องกันการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ใน Generator Control Panel ครอบคลุมตั้งแต่อุปกรณ์ควบคุมพื้นฐาน อุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์แสดงผล ไปจนถึงอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อและควบคุมระยะไกล โดยการเลือกใช้งานและติดตั้งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบไฟฟ้าและความซับซ้อนของการใช้งาน
Generator Control Panel มีหน้าที่ในการจัดสรรความเรียบร้อยให้สะดวกต่อการใช้งาน และปกป้องอุปกรณ์ภายในจากสภาพแวดล้อม รวมถึงสายไฟ Wiring ต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการเชื่อมต่อไปยัง Generator Controller จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะดูดูแลตู้ควบคุมให้มีสภาพพร้อมใช้ สามารถเปิดปิดได้ และไม่มีอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย เพราะมีส่วนประกอบในที่สำคัญมากมาย รวมถึงยังมีราคาสูงอีกด้วย ซึ่งภายใน Generator Control Panel มีอุปกรณ์หลักๆ ดังนี้
- Generator Controller อุปกรณ์หลักที่ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- Circuit Breaker และ Fuse อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
- Surge Protector อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า
- อุปกรณ์วัดค่าการทำงานของระบบ เช่น Volt Meter, Amp Meter, และ Frequency Meter
- Battery Charger อุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่
- ปุ่มควบคุมและ Emergency Stop: ใช้สำหรับการสั่งงานและหยุดฉุกเฉิน
Control Panel หรือตู้คอนโทรล แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่กล่องที่ไว้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน แต่ก็มีความสำคัญ ที่จะต้องออกแบบมาให้สอดคล้องกับการทำงานของทีมช่างและวิศวกร ต้องมีความสามารถในการปกป้องอุปกรณ์ภายใน ความสะดวกในการใช้งานของตำแหน่งติดตั้ง ต้องสามารถเปิดใช้และทำการบำรุงรักษาได้ง่าย
ปัญหาที่พบบ่อย หากระบบ Controller และการต่อสายวงจรหรือ Wiring ภายใน Generator มีปัญหา
- Generator หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ทไม่ติด
อาจเกิดจากสัญญาณสตาร์ทจาก Controller ไม่ถูกส่งไปยังเครื่องยนต์ เพราะการตรวจสอบค่าต่างๆภายในระบบผิดพลาด เช่น แรงดันไฟฟ้า แรงดันแบตเตอรี่ หรือแรงดันน้ำมันเครื่อง ผิดพลาด ทำให้ระบบไม่อนุญาตให้สตาร์ท
- จุดสังเกตอาการ คือเครื่องสตาร์ทไม่ติด แต่ไม่มีหน้าจอแสดงผล Error มาที่ Controller
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหยุดทำงานระหว่างใช้งาน
อาจเกิดจาก ระบบป้องกัน (Protection) ใน Controller แจ้งเตือนหรือเซนเซอร์ผิดพลาด เช่น การตรวจจับแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ แรงดันไฟฟ้ามาเกินปกติ หรือ ตรวจจับความร้อนผิดพลาด ทำให้ตรวจพบความร้อนเกิน จึงตัดการทำงาน
- จุดสังเกตอาการ คือ อาจพบมีข้อความหรือรหัสแจ้งข้อผิดพลาดบนหน้าจอ Controller เช่น “Low Oil Pressure” หรือ “Over Voltage” “Overheat/ High Temperature” ทั้งที่ค่าพารามิเตอร์หรือตรวจสอบจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดภายในเครื่องแล้วพบว่าค่าต่างๆอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- การแสดงผลผิดพลาด
อาจเกิดจากเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับ Controller ส่งข้อมูลผิดพลาด อาจพบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟ หรืออุณหภูมิ แสดงผลไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง
- จุดสังเกตอาการ คือ แสดงผลไม่ตรงกับเครื่องตรวจวัดภายนอก เช่นการตรวจโดย Thermoscan / Volt Meter / Power Logger Analysis โดยต้องทำการตรวจสอบโดยเครื่องมือที่มีการสอบเทียบวัดตามมาตรฐาน หรือจัดจ้างวิศวกรมืออาชีพของ Engineering 1986 เข้าตรวจสอบ
- การสลับโหลด (ATS) ไม่ทำงาน
อาจเกิดจาก Controller ไม่ส่งสัญญาณไปยัง ATS เพื่อสลับแหล่งจ่ายไฟ การตรวจจับไฟฟ้าหลัก (Mains Power) ของ Controller ล้มเหลว และไม่สามารถสลับกลับไปใช้ไฟฟ้าหลักเมื่อไฟฟ้ากลับมา
- จุดสังเกตอาการ คือ สามารถสตาร์ทเครื่องได้ในระบบ Manual แต่ไม่มีการตอบสนองเมื่ออยู่ในระบบ Auto และไม่สลับแหล่งจ่ายใฟในระบบ Auto เมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ปกติ
- การสตาร์ทเครื่องช้า สตาร์ทไม่ติด หรือสตาร์ทแล้ว ติดๆ ดับๆ ในระบบ Auto
อาจเกิดจาก Controller ไม่มีการตั้งค่า Function Time Relay หรือรุ่นของ Controller เป็นรุ่นเก่า อาจส่งผลกระทบได้หลายอย่าง ก่อให้เกิดปัญหาลุกลามไปยังชิ้นส่วนและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เพราะเกิดไฟฟ้ากระชาก แรงดันเปลี่ยนกระทันหัน
- จุดสังเกตอาการ คือ ระบบไฟฟ้าในโหมด Auto ไม่เสถียรมีอาการติดๆ ดับๆ บ่อยเกินความจำเป็นเมื่อแรงดดันไฟฟ้าเปลี่ยน
หาก Generator Controller ยังเป็นรุ่นเก่า ไม่มีฟังก์ชั่นที่ทันสมัยอย่าง Time Relay อาจส่งผลกระทบได้หลายอย่าง การติดตั้ง Generator Controller ที่มีประสิทธิภาพโดยวิศวกรมืออาชีพ จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่มีปัญหาในระยะยาว โดยวิศวกรมืออาชีพของ Engineering 1986 สามารถแนะนำรุ่นที่คุ้มค่าและทันสมัยและทำการติดตั้งให้กับ Generator Controller ได้อย่างถูกต้อง พร้อมรับประกันงาน 1 ปี และพร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อเครื่องมีปัญหาฉุกเฉิน
Generator Controller ที่ทันสมัย ช่วยสนับสนุนหลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างไร
ชุด Generator Controller มีหลากหลายยี่ห้อและหลายประเภท แต่ละรุ่นมีเทคโนโลยีและคุณสมบัติ รวมถึงราคาที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เลือกซื้อและติดตั้งได้อย่างเหมาะสมตามความเหมาะสมของลักษณะการใช้งาน ควรเลือกบริการติดตั้งผ่านทีมงานวิศวกรมืออาชีพ Engineering 1986 ตัวแทนนำเข้าและติดตั้ง Controller มากประสบการณ์ พร้อมบริการซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารับประกันและดูแลลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงภายในอายุสัญญา
โดยทั่วไปแล้วก่อนการติดตั้ง Controller เราจะต้องทำความรู้จักประเภทของชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) เสียก่อน โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ
- Stand Alone Gen-Set Controller
เป็นชุดควบคุมสำหรับใช้ควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพียงตัวเดียว โดยไม่มีระบบตรวจสอบแรงดันหรือความถี่ของฝั่งหม้อแปลงไฟฟ้า เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าขนาดเล็กหรือที่ไม่ต้องการการเชื่อมต่อกับไฟฟ้าหลัก
ตัวอย่างแบรนด์และรุ่นที่นิยม เช่น Deep Sea Electronics (DSE7320 MKII สามารถตั้งค่าสำหรับเครื่อง Stand Alone ได้), Smartgen HGM1700
- Automatic Main Failure (AMF) Genset Controller
เป็นชุดควบคุมสำหรับใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและตรวจสอบแรงดัน ความถี่ ทั้งฝั่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า รองรับการควบคุม ATS เพื่อสลับแหล่งจ่ายไฟระหว่างไฟฟ้าหลักและไฟฟ้าสำรอง เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าที่ต้องการความต่อเนื่อง เช่น อาคารสำนักงานหรือโรงงานขนาดใหญ่ โรงพยาบาล โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องเฝ้าระวังระบบไฟฟ้าขัดข้องเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงของผู้อยู่อาศัยได้หากไฟฟ้าขัดข้องในกรณีฉุกเฉิน
ตัวอย่างแบรนด์และรุ่นที่นิยม เช่น Deep Sea Electronics (DSE7320 MKII) , ComAp InteliLite NT AMF 25 , Smartgen HGM6120N
- Paralleling Controller
- เป็นชุดควบคุมแบบขนาน สำหรับ Synchronize เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายตัวเข้าด้วยกัน หรือต่อแบบขนานกับหม้อแปลงไฟฟ้า สามารถตรวจสอบแรงดัน ความถี่ และ Phase Shift เพื่อให้การขนานไฟเป็นไปอย่างเสถียรเมื่อมีระบบไฟฟ้าหลายระบบทำงานร่วมกัน เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจ่ายพลังงาน ระบบไฟฟ้าที่ใช้โหลดสูงและต้องการความต่อเนื่อง
ตัวอย่างแบรนด์และรุ่นที่นิยม เช่น Deep Sea Electronics (DSE8610 MKII) , ComAp InteliGen NT , Smartgen HGM9510
ดูเพิ่มเติมประเภทของชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) : https://www.engineering1986.com/generator-controller.html
หาก Controller มีปัญหา อาจทำให้เครื่อง
👨🏻🔧 Engineering 1986 รับติดตั้งชุดควบคุมเครื่องปั่นไฟ (Generator Controller) ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญงานซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทางเราพร้อมแนะนำรุ่น Controller ที่เหมาะสมกับระบบของลูกค้า รวมถึงมีรับประกันงานซ่อมและติดตั้ง ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร พร้อมเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน พร้อมดูแลลูกค้าบริการ Hotline 24 ชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา
🔹บริการ ติดตั้ง Generator Controller และ Gateway Monitoring เพื่อดูสถานะการทำงานของเครื่องได้แบบ Realtime ผ่านอินเทอร์เน็ต รู้ปัญหาได้ทันทีผ่านมือถือ ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
🔹บริการถอดชุดควบคุมเดิมออกและติดตั้งชุดควบคุมใหม่อย่างมืออาชีพ พร้อมเชื่อมต่อสายไฟและสายสัญญาณ Generator Controller
🔹บริการติดตั้งระบบ Monitoring Gateway สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อแสดงผลและควบคุมระยะไกล เพื่อให้เตรียมงานซ่อมเครื่องได้โดยไม่ต้องเข้าไปสำรวจหน้างาน
🔹มีการตรวจสอบระบบหลังติดตั้ง พร้อม Preventive Maintenance / Performance test ตรวจสอบทั้งระบบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
🔹บริการ Load test ทดสอบประสิทธิภาพและปริมาณการใช้ไฟฟ้า ภายใต้พิกัดกำลัง (Power rating) ที่เหมาะสม
🔹พร้อม Training ให้กับทีมงานช่างผู้ดูแลอาคาร ดูแลอุปกรณ์หน้างาน ให้เข้าใจปัญหาและแก้ไขได้เองเบื้องต้น รวมถึงนัดประชุมกับลูกค้าหลังทำงานเสร็จเพื่อรายงานผลการดำเนินการทั้งหมด
🔹 มีระบบ QR CODE โปรแกรมแจ้งแผนงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากหน้าเครื่อง หมดปัญหาด้านการเก็บเอกสาร หรือเอกสารเสื่อมสภาพ
👨🏻🔧 เตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาด้วยชุดควบคุมที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การใช้งานอย่างครบครัน เลือกใช้บริการ Engineering 1986
24 Hours Hotline ‼️
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม งานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻
👩🏻🔧ฝ่ายขาย
☎️ Tel : 02-159-9477
☎️ Tel : 065-440-4513
📧 E-mail : sales@engineering1986.com
📧 E-mail : manager@engineering1986.com
👨🏻🔧ฝ่ายวิศวกรรม
🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86
☎️ Tel : 02-159-9477
☎️ Tel : 063-072-9452