Engineering1986 > สาระความรู้ > Jockey Pump Controller อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยจัดระบบการทำงานระหว่าง Jockey Pump และ Fire Pump

Jockey Pump หรือปั๊มน้ำเลี้ยงระบบดับเพลิง เป็นปั๊มอุปกรณ์สำคัญในระบบท่อน้ำดับเพลิงที่ช่วยรักษาความดันในระบบท่อน้ำดับเพลิงที่ส่งไปยังหัวจ่ายน้ำดับเพลิงจุดต่างๆ ของอาคารให้คงที่ ช่วยลดภาระการทำงานของ Fire Pump เครื่องหลัก ช่วยยืดอายุการใช้งาน และมั่นใจได้ว่าระบบดับเพลิงจะพร้อมทำงานตลอดเวลา ซึ่งตัวกลางในการควบคุมระบบนี้ ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Jockey Pump Controller ที่เป็นตัวเริ่มคำสั่ง และตรวจสอบการทำงานของระบบ ก่อนจะออกคำสั่งไปยัง Jockey Pump ให้สูบน้ำเลี้ยงมาเติมให้เต็มระบบ หรือออกคำสั่งไปยัง Fire Pump เมื่อน้ำในระบบลดลงกว่าระดับที่กำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในระบบการสั่งการทำงาน ของ Jockey Pump Controller ที่ควบคุมการทำงานระหว่าง Jockey Pump และ Fire Pump นั้น เป็นอุปกรณ์ตัวสั่งการสำคัญในขั้นตอนนี้ ที่หลายหน่วยงานมักละเลยความสำคัญจนเกิดการชำรุด และขาดการซ่อมบำรุง จนส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของแรงดันในระบบ ส่งผลให้ Jockey Pump และ Fire Pump มีปัญหาได้ ส่งผลให้งบประมาณในการซ่อมบำรุงบานปลาย

การให้ความสำคัญกับ Jockey Pump Controller จึงเปรียบเสมือนปราการด่านแรกของระบบดับเพลิงด้วยน้ำ ที่จะส่งผลกระทบให้กับระบบอื่นๆ ทำงานได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ

ในระหว่างช่วงปกติ Jockey Pump ปั๊มเติมน้ำเลี้ยงระบบดับเพลิง และ Fire Pump เครื่องสูบปั๊มน้ำดับเพลิง จะต้องสามารถใช้การได้ดี โดยมีตัวเชื่อมและสั่งการระบบการทำงานคือ Jockey Pump Controller และ Fire Pump Controller มีความเชื่อมโยงกันในระบบดับเพลิง ทั้งหมดทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน

ระบบการทำงานของ Jockey Pump และ Fire Pump อะไรทำงานก่อนกัน แต่ละส่วนคืออะไร มีหน้าที่อะไรในระบบดับเพลิง

เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของแต่ละอุปกรณ์ เราจะต้องทำความเข้าใจภาพรวมของการทำงานและหน้าที่ของแต่ละอุปกรณ์เป็นลำดับต่อไป โดยอุปกรณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิงมีดังนี้

Jockey Pump หรือ ปั๊มน้ำเลี้ยงดับเพลิง คือ ปั๊มขนาดเล็กที่ใช้เพื่อรักษาความดันในระบบท่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยทำงานเพื่อชดเชยการลดลงของแรงดันที่เกิดจากการรั่วซึมเล็กน้อยในระบบท่อดับเพลิงที่ส่งไปยังส่วนต่างๆ ของอาคาร

หน้าที่การทำงานของ Jockey Pump โดยปกติจะตั้งค่าให้ปั๊มน้ำเลี้ยงทำงานอัตโนมัติเมื่อแรงดันในระบบลดต่ำกว่าค่าที่กำหนด และหยุดเมื่อแรงดันกลับคืนสู่ระดับที่ตั้งไว้ ทำงานร่วมกับ Jockey Pump Controller
         Jockey Pump Controller หรือ ชุดควบคุมปั๊มน้ำเลี้ยงดับเพลิง คือ อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของ Jockey Pump โดยเฉพาะ เพื่อเปิด/ปิดปั๊มตามแรงดันในระบบ เปรียบเสมือนหัวสมองที่คอยตรวจสอบระบบและสั่งการให้การทำงานของปั๊มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่การทำงานของ Jockey Pump Controller คือ เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดันในระบบและส่งคำสั่งให้ Jockey Pump ทำงานเมื่อแรงดันลดลงต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ (Cut-in Pressure) และ หยุดการทำงานเมื่อแรงดันกลับคืนสู่ค่าที่กำหนด (Cut-out Pressure) ช่วยให้ Jockey Pump ทำงานเฉพาะเวลาที่จำเป็น ซึ่งช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อนและยืดอายุการใช้งาน

  • หากแรงดันลดลงอย่างรวดเร็ว (เช่น เกิดเพลิงไหม้) ระบบ Jockey Pump Controller จะส่งคำสั่งให้ Fire Pump ทำงานแทน Jockey Pump ซึ่งหมายความว่า Jockey Pump จะหยุดการทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

Fire Pump หรือปั๊มสูบน้ำดับเพลิง คือ ปั๊มหลักในระบบดับเพลิง เป็นปั๊มขนาดใหญ่ที่มีกำลังส่งน้ำสูง อาจเป็นประเภทปั๊มน้ำเครื่องยนต์ดีเซล หรือปั๊มน้ำมอเตอร์ไฟฟ้า ตามการออกแบบมาเพื่อให้มีกำลังเพียงพอสำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดแรงดันน้ำสูงและปริมาณน้ำที่มากเพียงพอสำหรับการดับเพลิงในกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ในอาคาร
         หน้าที่การทำงานของ Fire Pump จะเริ่มทำงานเมื่อแรงดันในระบบลดลงอย่างรวดเร็วจากการเปิดหัวจ่ายน้ำดับเพลิงหรือระบบสปริงเกอร์เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉิน

Fire Pump Controller หรือ ชุดควบคุมปั๊มสูบน้ำดับเพลิง เป็นตัวควบคุม Fire Pump โดยเปิดปั๊มเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน และปิดเมื่อระบบดับเพลิงไม่ได้ใช้งาน

หน้าที่การทำงานของ Fire Pump Controller  ทำหน้าที่ รับสัญญาณจากเซ็นเซอร์แรงดัน และ Jockey Pump Controller หรือระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) ที่เกี่ยวข้อง และสั่งการให้ Fire Pump ทำงานโดยทันทีเมื่อแรงดันในระบบลดลงถึงระดับฉุกเฉิน

จะเห็นได้ว่าการทำงานระหว่างแต่ละอุปกรณ์มีความสัมพันธ์กันทั้งหมด โดยเริ่มต้นจากส่วน Jockey Pump ที่ถูกควบคุมโดย Jockey Pump Controller ที่เป็นระบบปั๊มน้ำขนาดเล็กทำหน้าที่เติมน้ำเลี้ยงดับเพลิงรักษาความดันในระบบดับเพลิงให้คงที่ในสถานการณ์ปกติ เพื่อให้ Fire Pump ไม่ทำงานบ่อยเกินความจำเป็น Jockey Pump Controller จึงเปรียบเสมือนตัวสั่งการเริ่มต้นของกระบวนการ ที่แม้จะเป็นเหมือนส่วนเล็กๆของระบบ แต่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะกระทบไปยังส่วนอื่นๆ ทั้งระบบ

Jockey Pump Controller ตัวจัดลำดับการทำงานของ Jockey Pump และ Fire Pump ที่ห้ามมองข้าม

         ในระบบดับเพลิงด้วยน้ำนั้น มีอุปกรณ์หลายส่วนที่ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อรักษาแรงดันน้ำในระบบท่อดับเพลิงอาคารสำหรับการเตรียมพร้อมดับเพลิงตลอดเวลา จนกว่าจะเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้น้ำในปริมาณมาก เพื่อให้เพียงพอและปลอดภัยต่อการดับเพลิง การเลือก Jockey Pump Controller ให้พร้อมใช้งานและสามารถตอบสนองความต้องการของระบบดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์หลักของระบบที่ทีมงานวิศวกรมืออาชีพของ Engineering 1986 ให้ความสำคัญ

การติดตั้งและดูแลรักษา Jockey Pump Controller ให้พร้อมใช้งานและสามารถตอบสนองความต้องการของระบบดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐาน จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่ง และมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาดังนี้

ประโยชน์ในการใช้งาน

  • รักษาแรงดันในระบบท่อได้อย่างต่อเนื่อง
  • ลดภาระการทำงานของ Fire Pump หลัก ช่วยประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งาน
  • เพิ่มความปลอดภัยให้ระบบดับเพลิง ด้วยระบบอัตโนมัติที่แม่นยำ

 

ประเภทของระบบไฟฟ้า

  • ตรวจสอบว่า Jockey Pump Controller รองรับระบบไฟฟ้าของคุณ เช่น:
    • 1 เฟส (Single Phase): มักใช้ในระบบขนาดเล็ก
    • 3 เฟส (Three Phase): เหมาะสำหรับระบบขนาดใหญ่หรือที่ต้องการกำลังไฟสูง

ขนาดของปั๊ม (Pump Capacity)

  • ความสามารถของ Controller ต้องรองรับ แรงม้า (HP) และ กระแสไฟ (Ampere) ของ Jockey Pump ที่ใช้งาน
  • ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า (Voltage) และความถี่ (Frequency) ที่เหมาะสมต่อระบบที่ใช้งาน เช่น 220V/50Hz สำหรับระบบของประเทศไทย

การควบคุมแรงดัน

  • ช่วงแรงดันที่รองรับ: Controller ควรมีค่าการตั้งค่า Cut-in และ Cut-out Pressure ที่ครอบคลุมแรงดันในระบบดับเพลิงของคุณ เช่น ระบบที่ต้องการแรงดันระหว่าง 100-150 psi ควรเลือก Controller ที่ตั้งค่าในช่วงดังกล่าวได้

คุณสมบัติของระบบควบคุม

  • โหมดการทำงาน: รองรับโหมด Auto ในสถานะปกติ และโหมด Manual และ Off สำหรับปรับระบบการทำงานเมื่อต้องการทดสอบการทำงานของเครื่อง หรือเมื่อต้องการทดสอบประสิทธิภาพระบบดับเพลิงประจำปีและทำการซ่อมบำรุงประจำปี
  • การป้องกัน: ควรมีระบบป้องกันความเสียหาย เช่น:
    • การป้องกันไฟเกิน (Overload Protection)
    • การตรวจจับเฟสไฟย้อนกลับ (Reverse Phase Protection)
    • การป้องกันแรงดันเกิน-ต่ำ (Over/Under Voltage Protection)
  • ฟังก์ชันหน่วงเวลา (Delay Time): ช่วยป้องกันการทำงานซ้ำซ้อนของปั๊ม

 

การแสดงผลและอินเทอร์เฟซ

  • หน้าจอแสดงผล (Display): ควรมีการแสดงค่าแรงดัน, สถานะการทำงาน และสัญญาณเตือน เช่น LCD หรือ LED
  • อินเทอร์เฟซการควบคุม: ปุ่มหรือหน้าจอที่ใช้งานง่าย

การรับรองมาตรฐาน

  • ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองจากมาตรฐาน เช่น:
    • NFPA 20 : มาตรฐานสำหรับระบบปั๊มดับเพลิง
    • UL หรือ FM Approved: เพื่อรับรองความปลอดภัยและคุณภาพของอุปกรณ์

ความทนทานและการใช้งานในสภาพแวดล้อมต่างๆ

  • ระดับการป้องกันน้ำกันฝุ่น (IP Rating): เช่น IP54 หรือ IP65 เพื่อป้องกันฝุ่นและน้ำ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและความชื้นได้ดี
  • ควรเลือกอุปกรณ์ที่รองรับช่วงอุณหภูมิการทำงานได้เหมาะสม เช่น -20°C ถึง +60°C

งบประมาณและบริการหลังการขาย

  • พิจารณาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับความต้องการ
  • ควรเลือกแบรนด์ที่มีบริการหลังการขาย เช่น การรับประกันและการซ่อมบำรุงที่สะดวก

Engineering 1986 แนะนำ การเลือกซื้อ Jockey Pump Controller ที่เหมาะสมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับระบบดับเพลิงในระยะยาว ควรเลือกอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบและมีฟังก์ชันการทำงานที่ตอบโจทย์ หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดับเพลิงเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

Jockey Pump ทำงานบ่อย แต่ไม่มีการรั่วซึมในระบบท่อ อาจเกิดจาก Jockey Pump Controller ทำงานผิดพลาด

การทำงานผิดปกติของ Jockey Pump เช่น ทำงานบ่อย ทำงานตลอดเวลา นอกจากสาเหตุเรื่องส่วนประกอบภายนอก เช่น มีจุดรั่วซึมในระบบ หรือระบบการติดตั้งไม่เหมาะสมแล้ว เมื่อตรวจสอบภายนอกแล้วหากไม่มีความผิดปกติ อาจมีความเกี่ยวข้องกับ Jockey Pump Controller เนื่องจาก เป็นตัวควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำเลี้ยงดับเพลิง Controller มีการเสื่อมสภาพของเซ็นเซอร์หรือการตั้งค่าไม่เหมาะสม จะทำให้ปั๊มทำงานบ่อยเกินความจำเป็น สาเหตุและความเกี่ยวข้องอาจมีความเป็นไปได้หลายส่วนดังนี้

  1. การตั้งค่าค่าความดันใน Jockey Pump Controller
  • การตั้งค่า Automatic run Start-Stop หรือค่า Cut-in Pressure และ Cut-out Pressure (ค่าความดันเริ่มต้นและ สิ้นสุด) อาจตั้งค่าห่างกันเกินไปหรือน้อยเกินไป
    • หากค่าทั้งสองใกล้กันมากเกินไป Jockey Pump จะเปิดและปิดบ่อยครั้ง เนื่องจากแรงดันในระบบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
    • การตั้งค่าที่เหมาะสมช่วยลดจำนวนรอบการทำงานของปั๊มและยืดอายุการใช้งาน
  1. การทำงานผิดปกติของ Jockey Pump Controller
  • หาก Jockey Pump Controller มีปัญหา เช่น:
    • การตรวจจับแรงดันไม่ถูกต้อง (Sensor Fault)
    • ระบบควบคุมอัตโนมัติทำงานผิดพลาด อาจส่งผลให้ปั๊มเริ่มทำงานบ่อยแม้แรงดันยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  1. การตั้งค่าเวลาหน่วง (Delay Time)
  • ในบางระบบ Jockey Pump Controller มีฟังก์ชันตั้งค่าเวลาหน่วงเพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
    • หากไม่ได้ตั้งค่า Delay Time หรือค่าที่ตั้งสั้นเกินไป จะทำให้ปั๊มเปิดและปิดบ่อย

แนวทางการแก้ไขเมื่อมีปัญหา Jockey Pump ทำงานบ่อย

  1. ตรวจสอบการรั่วซึมในระบบ
    • หาจุดรั่วซึมที่ทำให้แรงดันในระบบลดลง
  2. ตรวจสอบค่าความดันที่ตั้งใน Controller
    • ตั้งค่า Cut-in และ Cut-out Pressure ให้เหมาะสม เช่น มีระยะห่างที่เพียงพอ (5-10 psi)
  3. ปรับ Delay Time:
    • เพิ่มเวลาหน่วงระหว่างการทำงานของปั๊มเพื่อป้องกันการเปิด-ปิดที่ถี่เกินไป
  4. ตรวจสอบการทำงานของ Controller:
    • เช็กเซ็นเซอร์แรงดันและการทำงานของ Jockey Pump Controller หากพบปัญหา ควรเปลี่ยนหรือซ่อมแซม

Jockey Pump ทำงานบ่อยอาจเกิดจากปัญหาใน Jockey Pump Controller มีการตั้งค่าที่ไม่เหมาะสม หรือปัญหาจากระบบท่อ การตรวจสอบค่าความดันและแก้ไขจุดรั่วซึมเป็นแนวทางสำคัญในการลดการทำงานที่ไม่จำเป็นของปั๊ม และควรเลือก Jockey Pump Controller ที่มีฟังก์ชั่นที่ครอบคลุมการทำงาน ติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์อย่างทีมงานวิศวกร Engineering 1986 ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงระบบปั๊มน้ำดับเพลิงมามากกว่า 10 ปี

Jockey Pump Controller SmartGen FPC1700 ที่วิศวกรมืออาชีพจาก Engineering 1986 แนะนำ มีความทนทานและทันสมัย ฟังก์ชั่นครบครัน

นอกจากบริการซ่อมบำรุงระบบ Fire Pump แล้ว สิ่งที่ทำงานควบคู่กันภายในระบบอย่าง Jockey Pump ก็ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ทีมงานวิศวกรของ Engineering 1986 เรามีบริการซ่อมบำรุง ตรวจสอบระบบ รับติดตั้งและเปลี่ยน Jockey Pump Controller โดยแนะนำรุ่น SmartGen FPC1700 ที่มีคุณสมบัติรอบด้าน ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะกับการใช้งานในระยะยาว

  • ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ ในการจัดการและควบคุมการทำงานของปั๊ม โดยปรับแรงดันในท่อให้อยู่ในช่วงที่กำหนด และตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าเพื่อป้องกันความผิดปกติ
  • หน้าจอ LCD (128×64 พิกเซล) พร้อมไฟพื้นหลัง ที่มีความทนทาน ใช้งานง่าย รองรับภาษาอังกฤษ แสดงค่าแรงดันในท่อ, สถานะการทำงาน, เวลาทำงานรวม, และสถานะไฟฟ้า
  • มีการตั้งค่าเกณฑ์การเริ่มและหยุดทำงานของปั๊ม (Cut-in และ Cut-out Pressure)
  • รองรับฟังก์ชันตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า, ความถี่, และการตรวจจับเฟสย้อนกลับ (Reverse Phase)
  • ฟังก์ชันหน่วงเวลา (Delay Time) ช่วยป้องกันการทำงานถี่เกินไปและการทำงานซ้ำซ้อนของปั๊ม ช่วยยืดอายุและความทนทานของปั๊ม
  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ -25°C ถึง +70°C และมีมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันน้ำ ป้องกันฝุ่นระดับ IP65
  • รองรับการจ่ายไฟจากไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง (AC/DC)
    • รองรับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (1P2W) และ 3 เฟส (3P3W และ 3P4W) สามารถตั้งค่าได้อย่างเหมาะสมกับ Jockey Pump และ Fire Pump ในระบบที่รองรับ โดยทีมงาน Engineering 1986 สามารถให้คำปรึกษาการติดตั้ง รวมถึงรับบริการติดตั้งและดูแลระบบอย่างครบวงจร

 

ต้องการติดตั้ง Controller Jockey Pump อย่างถูกต้อง ดำเนินการด้วยด้วยทีมงานมืออาชีพ Engineering 1986 เลือกใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย เหมาะสมต่อการใช้งาน วัสดุคุณภาพสูง มีความทนทาน ที่เหมาะสมต่อการใช้งานในระบบ Jockey Pump ที่ช่วยยืดอายุการใช้งานให้ทั้งระบบ ลดปัญหาในการซ่อมบำรุงฉุกเฉินและลดความเสี่ยงที่จะเกิดเครื่อง Breakdown เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ติดต่อ Engineering 1986 วิศวกรผู้ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร ให้บริการด้านงานวิศวกรควบคุม ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์สูบน้ำดับเพลิง Fire Pump ตรวจสอบการทำงานของ Jockey Pump ติดตั้งงานระบบควบคุม Controller

🔸 บริการงานแก้ไข ซ่อมบำรุง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Fire Pump / Jockey Pump / Electric Motor Fire Pump / Diesel Fire Pump

🔸 รับ Maintenance Generator/Fire Pump ต่อครั้ง/รายปี จากทีมงานมืออาชีพ พร้อมแก้ไขทุกปัญหาของระบบเครื่องยนต์ ระบบดับเพลิง ระบบมอเตอร์ และระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง

🔹 พร้อมบริการ Hotline 24 ชั่วโมง พร้อมช่วยแก้ไขและนัดประชุมกับลูกค้า และรายงานผลการดำเนินการ

🔹 มี QR CODE โปรแกรมแจ้งแผนงานซ่อมบำรุง สามารถ Download เอกสารตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงได้จากหน้าเครื่อง

👨🏻‍🔧 เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบ ด้วยทีมงานวิศวกรมืออาชีพ ที่ช่วยดูแลอุปกรณ์อย่างใกล้ชิด กับ Engineering 1986

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ปรึกษางานบริการหรือสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ 👇🏻

👩🏻‍🔧ฝ่ายขาย

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 065-440-4513

📧 E-mail : sales@engineering1986.com

📧 E-mail : manager@engineering1986.com

👨🏻‍🔧ฝ่ายวิศวกรรม

🟢Line : @engineering1986 หรือ https://lin.ee/thW3g86

☎️ Tel : 02-159-9477

☎️ Tel : 063-072-9452