Engineering1986 > สาระความรู้ > Steam Trap และ Condensate Recovery พร้อมสูตรและตัวอย่างการคำนวณ
Steam Trap และ Condensate Recovery
พร้อมสูตรและตัวอย่างการคำนวณ
ก่อนที่จะรู้ว่า Steam Trap คืออะไร ใช้ทำอะไร มีหลักการทำงานอย่างไร เราควรรู้ก่อนว่า Steam Trap นั้นติดตั้งอยู่ตรงไหน เมื่อเราเดินใน Line การผลิต เราจะเห็น Steam Trap ติดอยู่ตามท่อส่งไอน้ำ และอยู่หลังเครื่องจักร และทำไมต้องติดที่ตรงนี้ด้วยนะ ?
มนุษย์รู้จักการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้กลายเป็นพลังงานความร้อนโดย Boilerพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นถูกนำไปใช้ในการบวนการผลิตมากมาย ความร้อนถูกส่งผ่านจาก Boiler ด้วยตัวกลางต่าง ๆ เช่น น้ำ น้ำมัน และไอน้ำ เป็นต้น ซึ่งไอน้ำเป็นตัวกลางที่นิยมใชัในการส่งผ่านความร้อนอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ไอน้ำจาก Boiler ถูกส่งผ่านตามท่อส่งไอน้ำไปยังอุปกรณ์ใช้ความร้อน และเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากท่อส่งไอน้ำ จึงมีการหุ้มฉนวนรอบท่อส่งไอน้ำ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีความร้อนที่สูญเสียให้กับผนังด้านในท่อส่งไอน้ำ จึงทำให้เกิดการกลั่นตัวเรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) อยู่ภายในท่อส่งไอน้ำ
คอนเดนเสทที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวขัดขวางการถ่ายเทความร้อนของไอน้ำ
และถ้าไม่มีการนำคอนเดนเสทนี้ออกมันจะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณจนเต็มท่อส่งไอน้ำ ดังนั้นเราจึงต้องการเครื่องมืออัตโนมันติมาช่วยในการระบายคอนเดสนเสทออก แต่ในขณะเดียวกันก็ป้องกันการรั่วไหลของไอน้ำด้วย
Steam Trap เป็นเครื่องมือที่เราต้องการเพื่อแก้ปัญหานี้ และเป็นสิ่งจำเป็นที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เอง การถ่ายเทความร้อนภายในอุปกรณ์ให้ความร้อนก็จะเกิดคอนเดนเสท เราจำเป็นจะต้องนำคอนเดนเสทออกอุปกรณ์ให้ความร้อนเหล่านี้ด้วย
เห็นได้ว่า Steam Trap มีหน้าที่คือ ระบายคอนเดนเสท และในขณะเดียวกันก็ป้องกันการรั่วไหลของไอน้ำ แต่ Steam Trap อาจต้องมีหน้าที่เพิ่มอีกสำหรับการเริ่มต้นระบบ (Start Up) คือการระบายอากาศหรือก๊าซ (air and non-condensable gases) เพราะเมื่อตอนหยุดระบบอากาศจะถูกดึงเข้ามาแทนที่ไอน้ำภายในท่อส่งไอน้ำหรืออุปกรณ์ความร้อนและเมื่อตอน Start Up ไอน้ำที่ถูกส่งมาตามท่อส่งจะดันอากาศเหล่านี้ ถ้าอากาศมาถึง Steam Trap อากาศจะยังคงค้างอยู่ภายในเครื่องจักร เป็นผลให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนไม่ดีและช้า
ดังนั้น Steam Trap มีหน้าที่ 3 ประการ
1. ระบายคอนเดนเสท
2. ป้องกันการรั่วของไอน้ำ
3. สามารถระบายอากาศหรือก๊าซ
Steam Trap มีกี่ชนิด
ปัจจุบันมี Steam Trap อยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดล้วนทำงานตามหน้าที่หลัก 3 ข้อตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เราจะจำกัดชนิดของ Steam Trap อยู่ 3 ชนิด
1. Mechanical
2. Thermostatic
3. Thermodynamic
Mechanical ทำงานโดยอาศัยความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่าง คอนเดนเสท และ ไอน้ำ เช่น ลูกลอยจะลอยเมื่อมีระดับคอนเดนเสท ทำให้วาล์วเปิด เมื่อเกิดไอน้ำลูกลอยจะตกลง ทำให้วาล์วปิด แต่ปัญหาของ Mechanical คือไม่สามารถระบายอากาศหรือก๊าซตอนเริ่มระบบได้ จึงทำให้ต้องเพิ่ม Thermal Element เพื่อช่วยในส่วนนี้ ซึ่ง Thermal Element นี้ มีการทำงานคล้ายกับ Thermostatic Trap
Thermostatic ทำงานโดยเทียบอุณหภูมิของคอนเดนเสทกับไอน้ำ คือ เมื่ออุณหภูมิของคอนเดนเสที่สะสมอยู่ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ วาล์วภายใน Steam Trap จะเปิดออก เพื่อระบายคอนเดนเสท
Thermodynamic ทำงานโดยอาศัยความแตกต่างของความเร็วในการไหลของ ไอน้ำ กับ คอนเดนเสท ณ.พื้นผิวเดียวกัน เมื่อไอน้ำไหลผ่านผิวระนาบจะทำให้เกิดความดันขึ้นเล็กน้อยซึ่งใช้เป็นหลักในการ เปิด-ปิด วาล์ว
เครดิตข้อมูลศึกษา 1 http://www.mdpelletboiler.com/14877385/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-condensate-recovery
เครดิตข้อมูลศึกษา 2 http://www.tpjeng.com/content-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-4-1874-30518-1.html
เครดิตข้อมูลศึกษา 3 http://www.krungthaiequipment.com/tlv/steam_trap.htm